วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การขยายพันธุ์แคคตัส

การขยายพันธุ์แคคตัสทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการขยายพันธุ์โดยรวมอย่างกว้าง เพื่อใช้เป็นหลักในการขยายพันธุ์ ส่วนแคคตัสพันธุ์ใดควรจะใช้วิธีขยายพันธุ์แบบไหนนั้น ควรสอบถามมาจากผู้ขายหรือสังเกตลักษณะทางกายภาพของต้นนั้นๆ ว่าจะประยุกต์ให้เข้ากับวิธีการใดได้บ้าง
การตัดแยกหน่อหรือต้น
1. แคคตัสที่ต้นมีลักษณะเป็นลำสามารถตัดลำหรือยอดไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้
2. แคคตัสที่เกิดหน่อใหม่ที่โคนต้นหรือบนยอดสามารถตัดไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้ทันที
3. แคคตัสที่มีหน่องอกตามลำต้นเดิมควรปล่อยให้หน่อนั้นเติบโตจนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 เซนติเมตร จึงค่อยตัดไปปลูก
4. แคคตัสที่มีต้นมีลักษณะเป็นแผ่นแบน เช่น สกุล Opuntia , Zygocactus , Epiphyllum , และ Schlumbergera สามารถตัดลำต้นบางส่วนมาปลูกได้
ข้อแนะนำ

* การตัดชำในช่วงฤดูฝนจะได้ผลดี
* การตัดส่วนของต้นเพื่อแยกหน่อควรใช้มีดที่คมและสะอาด
* ทารอยแผลที่ตัดด้วยยากันราหรือกำมะถันผง เพื่อป้องกันโรค
* หลังจากตัดหน่อ กิ่ง หรือยอดมาแล้วควรทิ้งไว้ให้แห้งก่อนนำไปปลูก
* วัสดุปักชำให้ใช้ดินร่วน 1 ส่วนผสมกับทรายหยาบ 2 ส่วน
* รอจนกว่าต้นใหม่ที่ชำงอกรากจึงรดน้ำตามปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เน่าตาย

การต่อยอด
วิธีการต่อยอดนิยมใช้กับ
แคคตัสที่มีสีอื่นๆ ที่ไม่ใช่สีเขียวเช่น ยิมโนบางพันธุ์หรือต้นที่เป็นพันธุ์ด่าง จะไม่สามารถสร้างอาหารเลี้ยงต้นเองได้หรือสร้างอาหารได้ไม่เพียงพอ พันธุ์ที่หายากหรือโตช้า การต่อยอดจะช่วยให้ต้นแตกกิ่งแตกหน่อและออกดอกเร็วขึ้น
การเลือกต้นตอที่เหมาะสม
ต้นตอ (stock) ที่จะนำมาใช้ควรเป็นต้นที่สมบูรณ์และแกนต้นยังไม่แข็ง ต้นตอที่นิยมใช้ส่วนใหญ่มักเป็นแคคตัสที่มีลักษณะเป็นลำ ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
กลุ่ม Hylocereus , Selenicereus หรือตอสามเหลี่ยมที่เห็นอยู่ทั่วไป ต้นตอกลุ่มนี้มีความแข็งแรง หาอาหารเก่งและโตเร็ว แต่ก็มีข้อเสียที่มีอายุการใช้งานจำกัดไม่เกิน 3-5 ปี ชนิดที่นิยมใช้คือ “โบตั๋นสามเหลี่ยม” (Hylocereus guatemalensis)
กลุ่ม Trichocereus , Myrtillocactus , Stenocereus และ Echinopsis ต้นตอกลุ่มนี้มีอายุการใช้งานไม่จำกัด แต่โตช้ากว่ากลุ่มแรก ข้อเสียคือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับต้นพันธุ์ (scion) ขนาดเล็กและต้องใช้ต้นตอที่มีขนาดยาวพอสมควร ทำให้ขาดความสวยงาม
ต้นตอดังกล่าวบางครั้งจะมีปัญหาในกรณีที่ต้นพันธุ์ที่ต้องการนำมาต่อมีขนาดเล็กกว่าต้นตอมาก ปัจจุบันจึงมีการต่อยอดโดยใช้ Pereskiopsis เป็นต้นตอซึ่งมีข้อดีคือมีความแข็งแรง โตเร็ว และที่สำคัญคือสามารถใช้ต่อกับต้นพันธุ์ที่มีขนาดเล็กได้ดี โดยเฉพาะต้นพันธุ์ที่ยังเป็นต้นอ่อนมีอายุไม่เกิน 6 เดือน รวมทั้งต้นพันธ์ที่หายากโตช้า จะให้ผลที่ดีมาก
ขั้นตอนการต่อยอด
เฉือนต้นตอให้หน้าตัดเรียบเสมอกัน
เฉือนขอบรอยตัดทุกด้านให้ลาดเอียง 45 องศา
เฉือนต้นพันธุ์ให้หน้าตัดเรียบเสมอกัน และมีขนาดใกล้เคียงกับต้นตอ
วางต้นพันธุ์บนต้นตอ ยึดด้วยเทปใสหรือด้าย นำไปวางในที่ร่มและไม่ให้ถูกน้ำประมาณ 1 สัปดาห์
เมื่อรอยต่อเชื่อมติดกัน (ใช้เวลา 1-2 สัปดาห์) จึงแกะเทปใสหรือด้ายออก นำไปปลูกเลี้ยงตามปกติ
ข้อแนะนำ
* ต้นตอที่มีแกนต้นแข็งอาจทำให้ต่อยอดไม่ติด ต้นที่ต่อจะไม่แข็งแรง ทำให้การต่อยอดล้มเหลว
* เทคนิคการต่อยอดให้ได้ผล เส้นผ่าศูนย์กลางของรอยตัดระหว่างต้นตอกับและต้นพันธุ์ควรมีขนาดใกล้เคียงกัน รอยตัดต้องเรียบเสมอกันเพื่อให้เนื้อเยื่อประสานกันได้ดี การเฉือนขอบรอยตัดของต้นตอให้ลาดเอียง 45 องศาเพื่อเวลาไม้ต่อติดแล้วรดน้ำจะได้ไม่ขัง เพราะจะทำให้รอยต่อเน่าได้

1 ความคิดเห็น:

PG SLOT กล่าวว่า...

สล็อต pg เว็บ ตรง แตก หนัก 2023 โอกาสที่คุณจะได้ยินถึงโลกน่าตื่นเต้นของเกมสล็อตออนไลน์ก็สูงมาก ในหมวดของผู้ให้บริการเกมสล็อตที่ได้รับความนิยมมากมาย สล็อต PG กล่าวได้เลย