วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สกุลแคคตัส(ต่อ)

สกุล Opuntia
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากมายกว่า 400 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Opuntia มาจากชื่อเมือง Opuntia ในประเทศกรีซ แคคตัสในสกุลนี้มีหลากหลายลักษณะ มีทั้งต้นเล็ก เป็นทรางกลมต่อๆ กันจนถึงชนิดที่มีขนาดใหญ่ เป็นทรงการะบอกต่อกัน และสูงกว่า 2 เมตร และบางครั้งก็พบว่ามีลักษณะสูงใหญ่เหมือนไม้ยืนต้นส่วนหนามก็มีทั้งแบบแข็ง ยาว และ เป็นอันตราย เช่น O[untia bigelovii หรือเป็นแบบอ่อนคล้ายการะดาษ เช่น Opuntia platyacantha ดอกของแคคตัสใสสกุลนี้ไม่มีท่อดอก แต่ส่วนรังไข่มีขนาดใหญ่ปกคลุมด้วยหนาม ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ม สีแดง และ สีม่วงแดง มักจะออกดอกดกและสวยงามมาก ส่วนผลมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ เมื่อแก่จะมีสีเหลืองถึงสีแดง ขนาดเส็นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 - 7.5 เซนติเมตร แคคตัสในสกุลนี้หลายชนิดสามารถผสมตัวเองจนเกิดผลและร่วงหล่นจนงอกเป็นต้นใหม่เองได้เช่น Opuntia fulgida แคครัสสกุลนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศแคนาดา ตอนใต้ของสหรัฐเอมริกา แม็กซิโก เอมริกากลาง ตะวันตกของหมู่เกาะเวสต์อินดีส เกาะกาลาปาโกส และใต้สุดของเทียราเดลฟิวโกในพาทาโกเนีย พบได้มากในที่ที่มีระดับความสูง 3700 เมตร จากระดับน้ำทะเลส่วนใหญ่ชอบน้ำและทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ถึง -18 องศาเซลซียส แต่มีบางชนิดที่มาจากทางตะวันตกของหมู่เกาะเวสต์อินดีสไม่สามารถทนอากาศหนาวเย็นได้

สกุล Sulcorebutia
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 40 ชนิด และอีกหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Sulcorebutia มาจากภาษาละตินว่า sulcus ซึ่งหมายถึง ร่องหรือรอย แคคตัสในสกุลนี้มีลักษณะคล้ายกับสกุล Rebutia ต่างกันตรงที่รุ่มหนามจะแคบและยาวกว่า มักจะขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ หรือยู่ราวกันเป็นกลุ่ม ลำต้นมีลักษณะทรงกลม เป็นสันชัดเจน มีหลายสี เช่น สีเขียว สีออกแดง หรือสีเทาอมดำ หนามมีลักษณะเป็นรูปหวี ไม่มีหนามากลาง ดอกมีลัษณะคล้ายกับสกุล Rebutia เกิดที่บริเวณโคนต้น กลีบดอกมีผิวมันคล้ายเคลือบด้วยขค้ผึ้ง ในบางชนิดกลีบดอกอาจะมี 2 สีปนกัน ผลมีลักษณะทรงกลมหรือเป็นรูปขอบขนาน ผิวเรียบเรือมีเกล็ดปกคลุมเล็กน้อย แคคตัสในสกุล Sulcorebutia มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศโบลิเวียพบมากตามภูเขาสูง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มี่แร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี

สกุล Thelocactus
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 25 ชนิด และอีกหลากหลายสายพันธุ์ Thelocactus มาจากภาษากรีก หมายถึง แคคตัสหัวนม ( nipple cactus ) มีลักษณะทรงกลมถึงทรงกระบอก สีเขียวถึงสีเทาอาจจะขั้นอยู่เป็นกลุ่มหรือเป็นต้นเดี่ยวๆ ก็ได้ โครงสร้างของพูกลีบมีลักษณะเป็นหัวย่อยๆ มากมาย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร และสูงประมาณ 25 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสัน 20 สัน ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ มักมีปุยสีขาวหรือสีครีมปนอยู่ด้วยประกอบไปด้วยหนามข้างค่อนเล็กและแข็งแรงปานกลาง มักขึ้นแผ่กระจายแนบขนานไปกับลำต้น ประมาณ 25 อัน แต่ละอันยาวมากกว่า 3 เซนติเมตร ส่วนหนามกลางเข็งแรงกว่าหนามข้าง มีหลาลักษณะ เช่น ตรง โค้งงอ หรืออ้วน และมีหลายสี เช่นสีขาว สีเหลือง สีแดงและสีดำ มีอยู่ประมาณ 1 – 4 อัน ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีแดง สีม่วงแดง มี ลักษณะบานแผ่ออกกว้าง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 – 7 เซนติเมตร ส่วนผลมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ เมื่อแก่จะแห้งและแตกออก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร แคคตัสสกุล Thelocactus มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเม็กซิโกทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตช้า แต่ปลูกเลี้ยงง่าย ชอบดินที่มีการระบายน้ำดีปานกลาง ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนจะชอบน้ำมาก แต่ควรงดให้น้ำในช่วงฤดูหนาวเพื่อให้สามาตรทนต่ออุณหภูมิต่ำได้

สกุล Uebelmannia
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด ลำต้นมีลักษณะทรงกลมถึงทรงกระบอก ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นสันสีน้ำตาลลอมแดง ผิวต้นเป็นมันคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้ง สันต้นประกอบไปด้วยตุ่มหนามที่มีปุยสีขาวปกคลุม และมีหนามแข็ง สั้นๆ ตั้งตรงสีขาวอยู่ 2 – 3 อัน ดอกมีสีเหลืองลักษณะทรงกรวย ขนาดเล็ก จะผลิดอกบริเวณปลายยอดของต้น ผลมีลักษณะทรงกลมถึงทรงกระบอก สีเหลืองอมเขียวหรือสีแดง เกิดบริเวณลายยอดของต้น เมล็ดมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ สีดำหรือสีน้ำตาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กาลางประมาณ 2.3 มิลลิเมตร แคคตัสสกุล Uebelmannia มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบประเทศบราซิลชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ร่มเงา ความชื้นในอากาศต่ำ และอากาศอบอุ่น และที่สำคัญก็คือไม่ควรให้น้ำโดยการรดลงดินโดยตรงแต่ควรให้โดยการฉีดพ่นเป็นฝอยจะดีกว่า

สกุลแคคตัส(ต่อ)

สกุล Gymnocalycium
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากว่า 120 ชนิดและอีกหลายสายพันธุ์ชื่อสกุล Gymnocalycium มาจากภาษากรีก หมายถึง ตาเปลือย ( naked bud ) แคคตัสในสกุลนี้เป็นสกุลที่น่าสนใจ เพราะมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันออกไปและมีดอกที่มีสีสันสวยงาม ลางชนิดอาจมีขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 7.5 เซนติเมตร เช่น Gymnocalycium baldianum แต่บางชนิดก็อาจจะมีขนาดใหญ่ มีขานดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20เซนติเมตร เช่น Gymnocalycium spegazzinii
ชนิดที่มีต้นขนาดเล็กมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ส่วนชนิดที่มีขนาดใหญ่มักจะพบขึ้นอยู่เป็นต้นเดี่ยวๆ สีของต้นมีตั้งแต่สีเขียวถึงสีน้ำตาลแดงหรือเป็นสีเทาคล้ายหินชนวน ลำต้นเป็นสันประมาณ 6 – 20 สัน มีลักษณะยื่นออกมาคล้ายคาง ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ ปกคลุมด้วยปุยสีขาวหรือสีเหลือง ในต้นที่มีขนาดเล็กตุ่มหนามจะอยู่ชิดติดกัน ส่วนในต้นที่มีขนาดใหญ่นั้นตุ่มหนามจะอยู่ห่างกัน ตุ่มหนามประกอบไปด้วยหนามข้างที่ละเอียดกระจายแยกออกจากกันแนบกับลำต้น มีอยู่ประมาณ 2 – 12 อันและยาวประมาณ 1 – 6 เซนติเมตร
ส่วนหนามกลางจะยาวกว่าหนามข้างเล็กน้อย มีลักษณะแข็ง โผล่ตั้งออกมาจากลำต้น และมีหลายสี ดอกมีกลายลักษณะ มีทั้งที่เป็นทรงกรวยและทรงระฆัง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 – 7.5 เซนติเมตร มีหลายสี เช่น สีขาว สีเขียว สีชมพู และสีแดง ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวปนน้ำตาล สีแดง หรือ สีเทาคล้ายหินชนวน ผิวของผลมีลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนกันเป็นชั้นๆ คล้ายกับผิวนอกของหลอดดอก มีขนาดยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร แคคตัสในสกุล Gymnocalycium มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหลายๆพื้นที่ของประเทศอาร์เจนตินา โบลิเวีย ปารากวัย และอุรุกวัย พบได้ในหลายพื้นที่ ทั้งในที่ที่มีระดับความสูง 3500 เมตร ในทุ่งหญ้า หิน ดิน ทราย ลางชนิดที่มีรูปร่างอ้วน กลม นั้น เคยพบว่าถูกฝังอยู่ในทรายตลอดฤดูร้อน แคคตัสในสกุลนี้ลูกเลี้ยงง่าย สามารถออกดอกได้ภายในเวลา 2 – 3 ปี ในช่วงฤดูร้อนควรให้น้ำมาก แต่ควรงดให้น้ำในช่วงฤดูหนาวเพื่อให้สามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำได้


สกุล Lophophora
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียง2ชนิดแต่มีหลากหลายสายพันธุ์ชื่อสกุล L0phophora มาจากภาษากรีก หมายถึง การผลิตดอกออกผลที่ส่วนยอด ( crest – bearing ) ลักษณะลำต้นเป็นทรงกลม อ่อนนุ่ม สีเหลืองซีดจนถึงสีเขียวอมฟ้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 – 13 เซนติเมตร มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ และเป็นกลุ่ม
เป็นระบบรากสมบูรณ์ลำต้นเป็นสัน 5 – 13 สัน ตุ่มหนามเป็นปุย สีขาว อยู่ห่างกันเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ไม่มีหนาม ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลืองครีม และสีชมพู จะมีเส้นสีเข้มตรงกลางตามความยาวของกลีบดอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.25 – 2.5 เซนติเมตร จะเกิดดอกบริเวณยอดที่มีสีขาวปกคลุมผลมีลักษณะยาว รี ค่อนข้างเล็ก เมื่อแก่จะเป็นสีขาว สีชมพู หรือสีแดงภายในจะมีเมล็ดอยู่ 2 – 3 เมล็ด แคคตัสในกลุ่ม Lophophora มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนกลางของประเทศเม็กซิโกและทางตะวันออกเฉียงหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาเช่น ในรัฐเท็กซัส สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวหรือดินทรายโตช้า แต่ให้ผลได้ง่าย สามารถออกดอกภายในเวลา 5 – 6 ปี


สกุล Mammillaria
แคคตัสในสกุลนี้มีมากมายกว่า 400 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Mammillaria มาจากภาษาละตินว่า Mammilla ( nipple ) หมายถึง โครงสร้างที่เป็นเนินหนามขนาดเล็กของพืช ชื่อสกุลนี้ตั้งโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ E.H. Haworth แคคตัสในสกุลนี้มีรูปทรงแตกต่างกันออกไปมากมาย
มีทั้งที่เป็นทรงกลมแป้นและทรงกระบอก อาจจะขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม
ในแต่ละกลุ่มก็จะประกอบด้วยหัวที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันออกไป ใน 1 หัวจะประกอบไปด้วยเนินหนาม ซึ่งระหว่างรอยต่อของเนินหนามมักจะมีขนปกคลุมอยู่ หนามก็มีหลายสี หลายขนาด ลักษณะเป็นขนแข็งหรือตะขอ ดอกมีลักษณะเป็นทรงระฆังหรือทรงกรวย มีขนาดเล็ก ผลิตเป็นวงตรงยอดต้น และมักจะมีท่อดอกสั้น ยกเว้นเพียงไม่กี่ชนิดที่จะมีท่อดอกขนาดยาว เช่น Mammillaria saboae fa. Haudenan ส่วนผลมีขนาดค่อนข้างเล็กเป็นรูปไข่ยื่นยาวและเรียวเล็กผิวเกลี้ยงเรียบ มีหลายสี เช่น สีเขียว สีชมพู หรือสีแดงเมื่อแก่เต็มที่แล้ว
แคคตัสสกุล Mammillaria มีถิ่นกำเนิดอยุ่ในประเทศเม็กซิโกแต่บางชนิดก็อาจจะพบได้ในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา แถบตะวันตกของหมู่เกราะเวสต์อินดีส และแถบอเมริกาใต้ แคคตัสในสกุลนี้สามารถปลูกเลี้ยงและออกดอกได้ง่ายในดินที่มีการะบายน้ำดี ส่วนชนิดที่มีหนามมาหนาแน่นมากจะต้องการร่มเงาบ้างเล็กน้อย


สกุล Melocactus
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากมายกว่า 60 ชนิด ชื่อสกุล Melecactus มาจากภาษากรีกว่า Melos ( Melon ) หมายถึง รูปทรงของต้นที่เป็นทรงกลมแป้นหรือทรงการะบอก มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ หรือชึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่จนถึงระยะผลิตดอกออกผลจะเกิดปุยนุ่มที่เรียกว่า cephalium ที่บริเวณยอดของต้น ซึ่งดอกและผลก็จะเกิดขึ้นในบริเวณนี้ด้วย แคคตัสในสกุลนี้มีลำต้นสูงประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เป็นสันประมาณ 9 – 20 สัน มีตุ่มหนามรูปไข่ขนาด 2.5 เซนติเมตร ประกอบไปด้วยหนามข้างที่มีลักษณะโค้งงอ แนบขนานไปกับนำต้น ประมาณ 8 – 15 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 1.25 7.5 เซนติเมตร ส่วนหนามกลางยื่นตรงออกมาจากลำต้น มีอยู่ประมาณ 1 – 5 อัน และยาว 2 – 9 เซนติเมตร
ทั้งหนามกลางและหนามข้างแข็งแรงมาก ยกเว้นชนิดที่มีหนามสั้นซึ่งหนามมักอ่อนและละเอียด สีหนามมีหลายสี เช่น สีขาว น้ำตาลออกแดงเข้ม และดำ บริเวณ cephalium ประกอบด้วยขนสีขาวหรือสีอื่นๆ และอาจมีหนามแข็งสีต่างๆ ได้ด้วยดอกมีสีออกโทนม่วงแดง มักออกเป็นวงและฝั่งจมอยู่ใน cephalium มีขนาดยาวประมาณ 1.25 – 3.75 เซนติเมตร โดยความยาวของดอกซ่อนอยู่ใน cephalium ผลมีลักษณะยาวเป็นทรงไม่พลอง ยาวมากกว่า 2.5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะมีสีชมพูถึงสีแดงแจ่มจ้า บางครั้งผลก็จะจมอยู่ใน cephalium ไม่ปรากฏออกมาให้เห็น แคคตัสสกุล Melocactus พบมากที่สุดในบริเวณตอนใต้ของหมุ่เกาะเวสต์อินดีส ทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก สหรัฐอเมริกาและบราซิล ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในหลายๆ พื้นที่และหลายๆ สภาพแวดล้อม จะใช้เวลาประมาณ 5 – 10 ต้นจึงจะสร้าง cephalium แต่ถ้าเป็นชนิดที่ต้นมีขนาดเล็กอาจจะต้องใช้เวลามากกว่านี้ในช่วงฤดูร้อนมีความต้องการน้ำมาก แต่ควรงดให้น้ำในช่วงฤดูหนาว

สกุล Obregonia
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียงชนิดเดียว คือ Obregonia denegrii ซึ่งได้รับการค้นพบในปี พ.ศ. 2468 ชื่อสกุล Obregonia ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีของประเทศเม็กซิโก คือ Alvaro Obregon ลักษณะลำต้นเป็นทรงกลม มีจุดเด่นคือ เป็นกลีบหนา สีเขียว ปลายงอนแหลม เรียงหงายซ้อนกันเป็นชั้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร และมีขนาดฐานกว้างถึง 2.5 เซนติเมตร ตุ่มหนามอยู่บริเวณปลายกลีบ มีปุยนุ่มสีขาว ประกอบไปด้วยหนาม 4 อัน แต่ละอันยาวมากกว่า 1.5 เซนติเมตร ดอกจะเกิดบริเวณปุยนุ่มตรงกลางยอดของต้น มีสีขาวหรือสีชมพูซีด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ส่วนผลมีสีขาวหรือสีชมพูซีด ขนาดเล็ก เมื่อแห้งจะแตกออก
แคคตัสกลุล Obregonia มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางแถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเม็กซิโก ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยเมล็ด ชอบขึ้นใต้ร่มเงาของต้นไม่จำพวก xerophyte เจริญเติบโตค่อนข้างช้า ของดินที่มีการะบายน้ำดี ชอบร่มเงา ถ้าต้นได้รับแสงมากเกินไปจะแดงและชะงักการเจริญเติบโต




สกุลของแคคตัส

สกุล Ariocarpus
มีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 8 ชนิดกับอีก 2-3 สายพันธุ์ ชื่อสกุล Ariocarpus นี้มาจากคำว่า Aria ซึ่งหมายถึงผลของแคคตัสสกุลนี้นั้นเอง ลักษณะของแคคตัสในสกุลนี้ส่วนใหญ่จะมีลำต้นขนาดเล็ก ( เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 – 15 เซนติเมตร) มักจะขึ้นเป็นต้นยาวๆ หรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ต้นอาจเตี้ยจนมีมีผิวด้านบนเสมอกับพื้นดิน แคคตัสสกุลนี้บางชนิดจะมีเนินหนามซึ่งอาจยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร เช่น Ariocarpus tri gonus บางชนิดก็มีขนเป็นปุยนุ่มอยู่ที่ซอกเนินหนามซึ่งเป็นบริเวณที่ออกดอกแต่จะมีบางชนิดที่ออกดอกบริเวณยอดของต้น ดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 – 5 เซนติเมตร ดอกมักมีสีขาวหรือสีครีม มีบางชนิด เช่น Ariocarpus lotschoubeyanus มีดอกสีชมพูหรือสีม่วงแดง ผลมีลักษณะเป็นทรงการะบอก ยาวประมาณ 1.25 – 2.5 เซนติเมตร แคคตัสสกุล Ariocarpus นี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเม็กซิโกและทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาแคคตัสสกุลนี้เจริญเติบโตช้า และจะเจริญเติบโตได้ดีตามหินหรือทรายที่สามารถระบายน้ำได้ทนแสงแดดจัดได้ดีแคคตัสสกุลนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด และอีกหลายสายพันธุ์
สกุล Astrophytum
แคคตัสสกุลนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด และอีกหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Astrophytum มาจากภาษากรีก แปลว่าพืชดาว ลำต้นอ้วนกลม หรือเป็นทรงการบอก บางชนิดอาจมีความสูงถึง 1 เมตร เช่น Astorphytum ornatum ลำต้นแข็ง บางชนิดจะมีปุยหรือเกล็ดสีขาวปกคลุมอยู่ บริเวณลำต้นมีสันต้น 5- 9 สัน อาจมีหนามหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ตุ่มหนามมีลักษณะเป็นปุยสีขาวคล้ายสำลี หนามกลางและหนามข้างมีขนาดใกล้เคียงกัน จึงไม่สามารถแยกได้ชัดเจนนัก หนามมีขนาดยาวประมาณ 3 – 10 เซนติเมตร แคคตัสสกุลนี้ออกดอกเป็นรูปกรวย บริเวณตอนกลางด้านบนของต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 – 9 เซนติเมตร สีของดอกส่วนมาก จะอยู่ในโทนสีเหลือง แต่อาจจะมีสีอื่นๆผสมอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น กลีบอกสีเหลือง บริเวณโคนกลีบและกลางดอกอาจจะเป็นสีส้มหรือสีแดง เป็นต้น ลักษณะผลเป็นทรงกลม มีขนาด 2.5 เซนติเมตร บางชนิดผลจะมีหนามปกคลุมคล้ายกับต้น เมื่อผลแก่เต็มที่จะแตกออกทางด้านโคน ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ แคคตัสสกุล Astophytum มีถิ่นกำเนิดแถบตอนกลาง ตอนเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือ ของประเทศเม็กซิโก ยกเว้น Astrophytum asterias ซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากแถบตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา แคคตัสสกุลนี้สามารถเจริญเติบโตได้ที่ระดับความสูงกว่า 2100 เมตร และเจริญเติบโตได้ในหลายพื้นที่ เช่น ระหว่างซอกหินทะเลทราย หรือใกล้กับไม้พุ่มจำพวกซีโรไฟต์ ( xerophytic bushes) ออกดอกว่าย โอยส่วนใหญ่ ใช้เวลา 3 – 6 ปี ก็จะได้ดอก และสามารถเพราะจากเมล็ดได้

สกุล Corypantha
แคคตัสในสกุลนี้ประกอบด้วย40ชนิดและหลายสายพันธุ์ชื่อCorypantha มาจากภาษากรีก หมายถึง ยอด และ ดอก รวมแล้วหมายถึง ตำแหน่งการออกดอกบนต้น ทรงต้นมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่เป็นทรงกลมขนาดใหญ่ และเล็ก ทรงกระบอก ทรงแท่งเล็ก ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร อาจพบขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นต้นเดี่ยวกลุ่มที่มีอายุหลายปีอาจมีอยู่รวมกันถึง 50 หัวหรือมากกว่านั้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอาจยาวถึง 65 เซนติเมตร เช่น Corypantha recurvata ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของรัฐแอริโซนา พบว่ามีถึง 200 หัว ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ ประกอบด้วยหนาม 30 อัน ในลักษณะกระจาย หนามยาว 2.5 เซนติเมตร มีสีสันมากมายหลากหลายตั้งแต่สีเหลือง สีชมพู สีส้ม จนถึงสีม่วงแดง บางชนิดกลีบดอกจะมีลักษณะเป็นรอยหยักเล็กๆ ที่ปลายกลีบ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก ยาวถึง 5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวจนถึงโทนสีแดง แคคตัสสกุล Corypantha มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหลายแห่ง ทั้งทางเหนือสุดของรัฐอัลเบอร์ตาในประเทศแคนาดา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา และในประเทศเม็กซิโก พบได้ที่ระดับความสูง 2000 เมตร บางชนิดเช่น Corypantha vivipara นั้น พบได้ในหลายสภาพพื้นที่ เช่น ทางตอนเหนือที่อากาศหนาวเย็นของรัซอัลเบอร์ตาในเขตทุ่งหญ้า และบริเวณป่า แคคตัสในสกุลนี้ปลูกเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้ทั้งเพราะเมล็ดและตัดแยก บางครั้งพบว่าหัวที่งอกใหม่นั้นมักมีรากงอกติดอยู่ด้วยในฤดูร้อนและฤดูฝนจะชอบน้ำมาก แต่ถ้างดให้น้ำในฤดูหนาวจะช่วยให้ทนต่อ อุณหภูมิต่ำได้ดี



สกุล Discocactus
แคคตัสสกุลนี้มีอยู่ไม่เกิน 20 ชนิด เจริญเติบโตได้ช้า มักขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ ทรงกลมแป้น เมื่อต้นมีอายุมากขึ้นอาจจะแตกหน่อหรือกิ่งก้านได้ ต้นมีหลายสี ตั้งแต่สีเขียวอ่อน สีเขียวอมน้ำตาล และสีม่วงเข้ม ต้นเป็นสัน 10 -25 สัน และมีตุ่มหนามเป็นปุยนุ่ม ประกอบด้วยหนามข้าง 5 – 20 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 3 เซนติเมตร หนามทั้ง 2 ชนิด สามารถจำแนกออกจากกันได้อย่างชัดเจน หนามมีหลายสี ตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล จนถึงสีดำ แคคตัสสกุล Discocactus มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล โบลิเวีย และปารากวัย การนำต้นไปเพาะเลี้ยงที่อื่นนอกถิ่นกำเนิดนั้นมักจะนิยมเพาะต้นจากเมล็ดมากกว่าการนำต้นที่โตแล้วไปเลี้ยงเพราะต้นจะตายได้ง่าย แคคตัสสกุลนี้เจริญเติบโตได้ดีในดินทรายที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ บางครั้งอาจจะใช้ดินผสมก็ได้ แต่ต้องมีการระลายน้ำที่ดี ต้นไม่สามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสได้




สกุล Echinocactus
แคคตัสสกุลนี้มีอยู่มากกว่า 10 ชนิด ต้นมีทรงกลมถึงทรงกระบอก อาจขึ้นเป็นต้นเดี่ยวหรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บางชนิดมีขนาดใหญ่มาก อาจมีความสูงถึง 1.8 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1 เมตร ผิวต้นมีสีเขียวอมห้า เนื้อเยื่อชั้น epidermis ( เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของสิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ชั้นอื่นๆ ) แข็งแรงมาก ช่วยป้องกันอันตรายจากแสงแดดที่ร้อนแรงได้ดี ตอนกลางด้านบนของต้นจะมีปุยสีขาวถึงสีเหลื่องปกคลุมลำต้นเป็นสัน 8 – 50 สัน มีตุ่มหนามอยู่ห่างกันเห็นได้ชัดเจน ประกอบด้วยหนามช้างที่ตรงหรือโค้ง แผ่กระจายออกมาจากตุ่มหนาม แต่บางชนิดอาจแนบชิดไปกับผิวต้น มีความแข็งแรงมาก ประมาณ 5 – 12 อัน ยาวมากกว่า 5 เซนติเมตรและมีหนามกลางที่แข็งกว่ายื่นตรงออกมาจากต้น 1 – 4 อัน ยาวประมาณอันละ 5 – 10 เซนติเมตร สีหนามมีตั้งแต่สีขาว สีชมพู สีเหลืองทองจนถึงสีดำ ดอกออกเป็นวงรอบยอดของต้นซึ่งมีปุยนุ่ม ส่วนชนิดที่ต้นมีขนาดใหญ่จะออกดอกเป็นวงรอบส่วนบนของต้น ดอกมีหลายสี แต่ส่วนมากอยู่ในโทนสีเหลือง ยกเว้น Echinocactus horizonthalonius ซึ่งมีดอกสีชมพูจนถึงสีม่วง ดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.25 เซนติเมตรหลอดดอกมีลักษณะเป็นปุยนุ่ม เมื่อบานจะแผ่กว้างออก ผลมีสีเหมือนกับส่วนปุยนุ่มบนต้น ผิวภายนอกมีลักษณะเป็นขนหรือปุยนุ่มปกคลุมเมื่อแก่เต็มที่จะแห้ง แคคตัสสกุล Echinocactus มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนกลางและทางเหนือของประเทศเม็กซิโก และทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา มักพบอยู่ตามบริเวณที่เป็นหินหรือพุ่มไม้ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดได้ดี เจริญเติบโตเร็ว โดยเฉพาะ Echinocactus grusonii แต่มีบางชนิด เช่น Echinocactus horizonthalonius และ Echinocactus polycephalus นั้น จะเจริญเติบโตช้า หากเกิดจากการเพาะเมล็ดเมื่อต้นยังเล็ก ควรระวังอันจรายจากอุณหภูมิต่ำและควรงดให้น้ำเมื่อถึงฤดูหนาว















เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากแคคตัส

แคคตัส ดูดรังสี
ปัจจุบันการทำงานหลายอย่างต้องใช้คอมพิวเตอร์ บางคนถึงกับนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ผลที่ตามมาคืออาการเมื่อยล้าทางสายตา ไปจนถึงขั้นปวดศีรษะ และอาเจียนหลากหลายวิธีลดความเจ็บปวดจากการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ มีผลวิจัยจากต่างประเทศเชื่อว่า ต้นกระบองเพชร หรือตะบองเพชร หรือแคคตัส (cactus) ที่ตั้งหน้าคอมพิวเตอร์ สามารถช่วยลดปัญหารังสีที่แผ่ออกมาได้ นายแพทย์ ศักดิ์ชัย ใช้จิกจา จักษุแพทย์ ผอ.มูลนิธิเทียนฟ้า อธิบายว่ารังสีอัลตร้าไวโอเลต หรือรังสียูวี รังสีเหนือม่วง พบในแสงแดด หลอดไฟ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ ซึ่งอย่างหลังคนเราสัมผัสใกล้ชิดมากกว่าอย่างอื่น การใช้คอมพิวเตอร์นานๆก่อให้เกิดปัญหาระคายเคืองเยื่อบุตา เคืองและแสบตา ส่งผลระยะยาวอาจก่อให้เกิดโรคต้อกระจกเร็วกว่าปกติ หรือมีปัญหาประสาทตาเสื่อม “ทีวีไม่ได้ดูรายละเอียดมากเท่าใช้สายตาเพ่งคอมพิวเตอร์ ใช้นานมีปัญหาต่อสายตาทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ปวดศีรษะ อาเจียนถึงขั้นหมดสติ ใช้ติดกันนานเป็นภาวะสายตาสั้นเกิดขึ้นชั่วคราว จริงๆไม่ได้สั้น แต่สายตาเปลี่ยนแปลงชั่วคราว รู้สึกว่าสายตาสั้น” ปัจจุบันคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่มีระบบกรองรังสี แต่เดิมวิธีการลดรังสีและแสงจ้าจากคอมพิวเตอร์ใช้การติดแผ่นกรองแสงรังสี หรือสวมแว่นกันแดดกรองรังสียูวี ซึ่งสามารถลดปริมาณรังสีและความจ้าของแสงสว่างที่แผ่ออกมาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น การติดหรือไม่ติดแผ่นกรองแสงจึงมีผลแตกต่างกันไม่มาก เพียงแต่การติดแผ่นกรองแสงช่วยให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เกิดความสบายใจ คลายความกังวล พร้อมกันนั้นช่วยลดแสงจ้า แสงสะท้อน และไฟฟ้าสถิต ทำให้อาการล้าของสายตาลดลง

ต่างประเทศมีการวิจัยและทำการทดลองนำกระบองเพชร หรือตะบองเพชร หรือแคคตัส (cactus) ตั้งหน้าคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆอันเกิดจากรังสีที่แผ่ออกมาได้ ในบทความเกี่ยวกับความเจ็บป่วยจากจอคอมพิวเตอร์ของโรเจอร์ (Roger Coghill) ได้อ้างถึงผลวิจัยของสถาบัน Recherches en Geobiologie ของสวิตเซอร์แลนด์และนักวิจัยในอเมริกา ลดรังสีที่ฉายออกมาโดยทดลองนำต้นตะบองเพชรความสูง 4 เซนติเมตรไปตั้งไว้หน้าคอมพิวเตอร์ของลูกจ้างผู้เคยได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานจากอาการปวดหัวและความอ่อนเพลีย
แคคตัส ไม้อวบน้ำมีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาและแอฟริกา ลำต้นมีรูปร่างอวบสั้น มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ภายใน มีทั้งแบบมีใบ และแบบเปลี่ยนใบเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำและป้องกันอันตรายทุกวันพุธและวันพฤหัสบดี บริเวณตลาดนัดจตุจักรเต็มไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด มารุต พิเชษฐ์วิทย์ เจ้าของสวนไม้ทราย จำหน่ายแคคตัสและพันธุ์ไม้ทะเลทราย ไม้แปลกและหายาก เล่าให้ถึงความนิยมแคคตัสดูดรังสีหน้าคอมพิวเตอร์ให้ฟังว่า “ส่วนใหญ่มาหาซื้อเพื่อนำไปตั้งไว้หน้าคอมพิวเตอร์ดูดรังสี เพิ่งทราบว่าตะบองเพชรดูดรังสีได้ มีผลจากวิจัยจากเมืองนอกว่าหนามของมันเป็นสื่อดูดรังสีจากจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ อีกอย่างคิดว่าเพราะเป็นต้นไม้ขนาดเล็กสามารถนำไปตั้งไว้ในบ้าน เพื่อความสวยงาม เหมาะที่จะนำไปตั้งไว้หน้าคอมพิวเตอร์” รูปทรงและพันธุ์ของแคคตัสมีมากมาย พันธุ์ที่สามารถดูดรังสีได้คือพันธุ์ที่มีหนาม “แคคตัสมีหลายประเภท ทั้งแบบที่มีหนาม ไม่มีน้ำ มีใบ เพราะฉะนั้นตัวที่ดูดรังสีได้น่าจะมีหนามค่อนข้างมาก หนามเป็นสื่อที่จะดูดรังสี ลักษณะโดยรวมของแคคตัสมีหนามเยอะอยู่แล้ว ถ้ามีหนามมากน่าจะดูดรังสีได้มาก” กระทั่งแคคตัสที่มีหนามก็ยังมีหลายพันธุ์ตั้งไว้ละลานตาให้เลือก อย่างไรก็ตามพันธุ์ที่คนส่วนใหญ่กำลังนิยมมีชื่อว่าถังทอง “ดาวล้อมเดือน" พันธุ์เบสิกดั้งเดิม ภาษาชาวบ้านเรียกว่านแม่ลูกดก ต้นมีหน่อเป็นวงเหมือนมีลูกเยอะๆ พันธุ์พื้นๆที่คนซื้อไปก็มีมะนาวหิน เมโล ยิมโน แต่ที่กำลังนิยมตอนนี้ได้แก่ ถังทอง เป็นไม้ทรงกลมขนาดใหญ่ต้นยิ่งโตยิ่งสวย หนามมีสีทองคลุมรอบต้น โตเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางเมตรครึ่ง-2 เมตร บ้านเราที่เลี้ยงกันอยู่นิยมขนาด 5 นิ้ว-6 นิ้ว ใช้เวลาปลูก 3-4 ปี”ราคาและความสวยงามเป็นปัจจัยหลักที่คนตัดสินใจเลือกซื้อ “ไม้ตลาดพื้นๆ ต้นเล็กสวยงาม มีดอก ราคาไม่แพงตั้งแต่ 10 บาท 20 บาท ไม่เกิน 100 บาท เกินจากนี้เป็นไม้ของนักเล่น ดูดได้จนกว่าต้นตะบองเพชรจะตาย ผมเคยนำไปวางไว้หน้าคอมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อมากกว่า จริงๆไม่ได้มีผลดูดให้เห็นกันจะจะขนาดนั้น มีผลบ้างเล็กน้อยทางด้านจิตใจ ตะบองเพชรเป็นต้นไม้ขนาดเล็กสามารถนำไปตั้งไว้ในบ้านเพื่อความสวยงาม เหมาะที่จะนำไปตั้งไว้หน้าคอมพิวเตอร์”สำหรับจักษุแพทย์ศักดิ์ชัยแสดงความเห็นส่วนตัวว่าการที่ตะบองเพชรสามารถดูดรังสีได้นั้นน่าจะเป็นเพราะว่า “พืชสีเขียวมีคลอโรฟิลล์รับแสงแดดอยู่แล้วในการปรุงอาหาร ตะบองเพชรมีสีเขียวมีโอกาสดูดซับรังสีจากคอมบางส่วน แทนที่จะกระจายให้ผู้ใช้โดยตรงเท่านั้น” ไม่ว่าผลที่ได้จะเป็นอย่างไร บางครั้งการได้มองสีเขียวๆของธรรมชาติ แม้เพียงเสี้ยววินาทีเดียวอาจจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อตาได้บ้าง มากกว่าการนั่งแช่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆเพียงอย่างเดียว
***ที่มา:ข้อมูลจากกองอาชีวอนามัยกรมอนามัยเว็บไซต์
satori 5.co.uk/word_articles/hrs/terminal_illness_computer_screens.html-Terminal Illness: Computer Screens เว็บไซด์ http://www.creativeinc.co.uk/em_smog.html ข่าวและภาพบางส่วน จาก ; ผู้จัดการรายวัน 14 เมษายน 2548 ที่มา : http://www.manager.co.th/Daily

ประโยชน์ของแคคตัส

ปัจจุบันนี้มีผู้ปลูกเลี้ยงแคคตัสกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้คงจะเนื่องมาจากลักษณะทรงต้นของแคคตัสที่แตกต่างไปจากพืชอื่นๆ คือ มีหนามขึ้นโดยรอบต้นการเรียงตัวของหนามที่เป็นระเบียบสวยงามอย่างเช่นMammillaria หรือ AStrophytum asterias ที่มีลักษณะตุ่มหนามเป็นปุยนุ่มเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ เป็นต้น และนอกจากทรงต้นของแคคตัสที่แปลกตาต่างจากพืชอื่นๆแล้ว แคคตัสยังเป็นพืชที่มีดอกสวยงามสีสันของดอกสดใสดึงดูดสายตา ไม่ว่าจะเป็นดอกสีแดงสดของ Submatucana caliantha หรือดอกสีขาวสะอาดของ Obregonia denegrii หรือสีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีม่วงหรือสีส้มสด รวมทั้งรูปทรงของดอกที่แตกต่างกันออกไป แคคตัสบางสกุลเช่น สกุล Mammillaria นั้นจะออกดอกเล็กๆ พร้อมกันทั้งต้นดูละลานตา หรือในสกุล Melocactus ที่จะออกดอกบนบริเวณที่เรียกว่า cephalium ซึ่งเป็นลักษณะที่พืชอื่นไม่มี ทั้งรูปร่างลักษณะของต้น การเรียงตัวของตุ่มหนาม สีสัน และรูปร่างของดอกแคคตัสนี้ คงเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้มีผู้นิยมปลูกเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนั่นเอง
อาจกล่าวได้ว่าไม่มีแคคตัสสักชนิดเดียวที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญเลย หลายชนิดที่มีการใช้ประโยชน์บ้างตามท้องถิ่นขึ้นอยู่ ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ที่ไม่มีต้นใหญ่นั้น ใช้ลำต้นแห้งของแคคตัสสกุล Cereus ทำเสาปลูกเพิงกระท่อมหรือเสาบ้านเตี้ยๆ ได้ขณะเดียวกัน ในแหล่งที่เลี้ยงสัตว์แต่ไม่มีทุ่งหญ้านั้นกิ่งของ Opuntia เมื่อเอาหนามออกแล้วก็ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ นอกจากนั้นกิ่งอ่อนของ opuntia บางชนิดสามารถขจัดหนามออกได้ง่ายนำมาทอดรับประทานในประเทศเม็กซิโกและญี่ปุ่น ส่วนในรัฐเท็กซัสนั้นนิยมนำมาต้มรับประทานแทนผัก ในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 พวกทหารเรือที่ออกทะเลนิยมต้ม Opuntia รับประมานแทนผัก เนื่องจากสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นเดือนอีกทั้งช่วยป้องกันโรคบางชนิดได้อีกด้วย
ผลของ opuntia ficus-india ซึ่งเป็น Opuntia ที่มีดอกสีเหลืองนั้นสามารถนำมารับประทานได้ ผลมีลักษณะคล้ายลูกแพร์จึงเรียกกันว่า pricky pear ผลมีสีต่างกันไปขึ้นกับพันธุ์เช่น var.iutea ผลสีเหลือง var. rubar ผลสีแดง cv.Asperma ผลเล็กสีเหลืองและมีเมล็ดขนาดเล็ก var.serotima มีผลสีเหลืองแต่ออกผลช้ากว่าพันธุ์อื่น หรืออาจมีชนิดที่ผลมีสีเหลืองอมแดงหรือลายเหลืองแดงน้ำที่อยู่ในผลจะมีสีเดียวกับเปลือก ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กและแข็งแต่จัดว่าเป็นไม้ผลที่มีรสหวานอร่อยมาก ผลไม้นี้พบในเขตชื้นของสหรัฐอเมริกาแต่นิยมปลูกในเขตกึ่งร้อนและพบว่าขึ้นตามธรรมชาติในเขตประเทศเม็กซิโก เป็นพืชที่ปลูกในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนและแอฟริกาใต้เพื่อส่งเป็นสินค้าส่งออก มีขายทั่วไปในสหรัฐอเมริกา นอกจากรับประทานผลแล้วยังใช้ทำแยม เยลลี่ แผ่นใบใช้เลี้ยงวัวและหมู
นอกจากชนิดที่กล่าวมาแล้วยังมีชนิดอื่นๆ ที่รับประทานได้อีก เช่น O.phaeacantha ผลสีม่วงแดงปลูกแถบนิวเม็กซิโกและรัฐอื่นๆที่ใกล้เคียง จึงมีชื่อสามัญว่า New Mexico Pricky Pear หรือ Purple-fruited Pricky Pear หรือพวก O.brasiliansis , O.tuna , O.streptacamtha และ O.cardoma ชาวเม็กซิกันยังรับประทานผลของแคคตัสอีกหลายชนิดเช่นพวก Hylocereus undatus ซึ่งมีผลสีแดงภายในมีเนื้อสีขาวและมีเมล็ดสีดำกระจายทั่วไปผลมีรสหวาน พบว่ามีปลูกอยู่ในแถบเอเชียเช่น ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งปลูกขายผลทั้งภายในประเทศและส่งไปขายที่ประเทศสิงค์โปร์
นอกจากนี้แล้วยังมีพวก Myrtillocactus geometrizans ซึ่งมีผลขนาดเล็กสีฟ้าขายกันในตลาดเม็กซิโกมีชื่อเรียกกันว่า Garumbullos ผลของ Carnegiea gigantea ก็ว่ากันว่าอร่อยมากสมกับความยากลำบากที่ต้องขึ้นไปเก็บบนต้นที่มีความสูงกว่า 10 เมตรหรือแคคตัสสกุล Echinocereus ที่มีชื่อสามัญว่า Strawberry Cactus นั้นผลมีเนื้อนุ่มรับประทานและรับประทานได้ถึงแม้ว่าผลจะมีหนามแต่เมื่อสุกผลจะนุ่ม สามารถขจัดหนามออกได้ง่าย Echinocactus ที่ผลมีหนามปกคลุมอยู่มากมายนั้น ภายในผลจะฉ่ำน้ำและมีกลิ่นคล้ายแตงโม จึงนิยมนำผลไปเชื่อมเป็นขนมชนิดหนึ่งเรียกว่า Vizanaga
ประโยชน์ของแคคตัสอีกประการหนึ่งก็คือนำไปทำเป็นที่พักอาศัยได้ สกุล Cereus นำมาทำรั้วทึบโดยที่คนหรือสัตว์ลอกผ่านไม่ได้ สกุลที่เหมาะสมนำมาทำรั้วคือ Pachycereus และ Stenocereus เพราะเป็นพวกมีลำต้นตั้งตรงมีชื่อสามัญว่า Organ Pipe หรือ Organ Cactus หรือสกุล Opunitia ก็นำมาปลูกทำรั้วเช่นกัน ยังมีแคคตัสอีกชนิดหนึ่งคือ Lophophora williamsii หรือที่มีชื่อสามัญว่า Peyote Cactus แถบรัฐเท็กซัสตอนใต้หรือตอนเหนือของประเทศเม็กซิโกเป็นแคคตัสที่ไม่มีหนาม มีรากคล้ายๆหัว turnip สีเขียวอมเทาส่วนบนของหัวแบ่งออกเป็น 8 ส่วนและมีเนินนูนซึ่งเรียกว่า Mescal-button คล้ายๆกระดุมเมื่อแห้งจะเปราะ แต่จะนุ่มเมื่อถูกน้ำ การนำมาใช้คือ นำหัวมาเฉือนตามขวาง เนินนูนคล้ายกระดุมนั้นจะมีสารที่ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน ชาวพิ้นเมืองอเมริกันและเม็กซิกันใช้ประกอบพิธีทางศาสนามากว่า 7,000 ปีแล้ว Peyote Cactus ประกอบด้วยสารอัลคาลอยน์ 30 ชนิดมี Mescaline เป็นตัวสำคัญเมื่อใช้แล้วจะมีอาการประสาทหลอน รู้สึกตัวเบา เห็นแสงสีเจิดจ้าขยายม่านตาทำให้กล้ามเนื้อคลาย (ใช้ 10-40 เนินนูน) ถ้าใช้มากจะเกิดอันตราย
จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า แคคตัสสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลายด้านสรุปได้คือ
1. นำมารับประทานเป็นอาหารเช่น รับประทานผลสด รับประทานส่วนของต้นที่นำมาเปลี่ยนรูปคือ นำมาเชื่อม ต้ม หรือทอด อีกทั้งนำมาใช้เลี้ยงสัตว์
2. นำมาทำที่พักอาศัย นำมาทำเป็นเสา ทำแนวรั้วหรือผนัง
3. ใช้ในการประกอบพิธีกรรมาทางศาสนาเช่น พิธีกรรมของชาวพื้นเมืองอเมริกันและเเม็กซิกัน
4. ใช้ในการประดับตกแต่งสถานที่เช่น ตกแต่งกับสวนหินหรือสวนทะเลทราย
5. ปลูกเลี้ยง สะสมพันธุ์ต่างๆให้เกิดความเพลิดเพลิน

อาการต่างๆของแคคตัส

นอกจากนี้ยังจะมีอาการผิดปกติที่มีสาเหตุมาจากการปลูกเลี้ยงที่ไม่ถูกวิธีที่พอสรุปได้ดังนี้
อาการ

ต้นโตช้าหรือไม่ค่อยโต
สาเหตุ
* น้ำมากเกินไป * ดินแน่น * รากเน่าหรือมีเพลี้ยแป้งที่ราก
วิธีแก้ไข
*ปรับปริมาณการให้น้ำให้เหมาะสม
* เปลี่ยนสูตรดินปลูกหรือรื้อปลูกใหม่
* รื้อต้นออกจากกระถางตัดแต่งรากแล้วปลูกใหม่

อาการ
ต้นอ่อนนุ่ม
สาเหตุ
* ความชื้นสูงกินไป
วิธีแก้ไข
*ลดความชื้นตัดส่วนที่อ่อนนุ่มทิ้งแล้วโรยยากันรา
อาการ
ต้นมีสีเหลือง
สาเหตุ
*แสงมากเกินไป
* ดินเป็นด่าง
* ขาดธาตุเหล็ก

วิธีแก้ไข
*ย้ายที่ตั้งกระถาง
* ปรับปรุงการระบายอากาศและความชื้น
* ตรวจสอบและปรับค่า pHในดิน
* เพิ่มธาตุเหล็กในดิน

อาการ
ต้นหรือหนามมีสีซีดและกร้าน ไม่สดใส
สาเหตุ
* รากเป็นแผล
* ปริมาณแสงไม่เหมาะสม
* อากาศไม่ถ่ายเท

วิธีแก้ไข
* ตัดแต่งราก และเปลี่ยนกระถางใหม่
* ปรับปริมาณแสงให้เหมาะสม
* ย้ายต้นไปไว้ในที่มีลมโกรกอากาศถ่ายเท
อาการ
ไม่ออกดอกหรือออกดอกน้อย
สาเหตุ
* ต้นได้รับไนโตรเจนมากเกินไป
* ได้รับแสงไม่เพียงพอจะแตกตาดอก
วิธีแก้ไข
* ลดปริมาณไนโตรเจนเพิ่มฟอสฟอรัส
* ย้ายที่ตั้งให้ได้รับแสงมากขึ้น

อาการ
ดอกไม่บานหรือเหี่ยวก่อนบาน
สาเหตุ
*อุณหภูมิต่ำเกินไปหรือมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็วเป็นระยะ
วิธีแก้ไข
* ย้ายกระถางไปตั้งในที่ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น

อาการ
ต้นเป็นรอยย่น
สาเหตุ
* เป็นการพัฒนาของต้นบางชนิดขึ้นตามอายุ








โรคและแมลงของแคคตัส

โรคที่พบบ่อยๆ
โดยปกติแล้วแคคตัสจะไม่ค่อยมีโรครบกวนมากนัก จะมีก็แต่โรคที่เป็นสุดยอดปัญหาของแคคตัสคือ โรครา หรือบางทีก็เรียกกันว่า โรคเน่า ที่เกิดจากการเอาใจใส่ดูแลแคคตัสมากเกินไป
สาเหตุ - รดน้ำมากเกินไป
- อากาศไม่ถ่ายเท
- วัสดุปลูกแน่นทึบ ไม่ระบายน้ำ
อาการ - ต้นมีรอยแผลถลอกหรือช้ำเน่า อาจเป็นจุดสีน้ำตาลหากไม่รีบตัดทิ้งหรือรักษา จุดจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนต้นเน่าตายในที่สุด
การแก้ไข - ตัดส่วนที่เน่าทิ้งไป โดยตัดให้เหนือแผลประมาณ 1-2 นิ้วใช้คอปเปอร์ซัลเฟตหรือยาฆ่าเชื้อราทารอยตัดและบริเวณใกล้เคียงให้ทั่ว
วิธีการป้องกัน - รดน้ำในปริมาณที่พอเหมาะพอดี
- ตรวจดูวัสดุปลูกว่าระบายน้ำดีหรือไม่
ข้อแนะนำ
* อาการโคนเน่าจะรักษาง่ายกว่าอาการยอดเน่า
*โรครามักระบาดในช่วงฤดูฝนที่อากาศค่อนข้างชื้น ควรยกกระถางแคคตัสเข้าในที่ไม่โดนน้ำฝนหรือทำพลาสติกกันฝนให้ต้นเพราะน้ำที่ตกค้างตามต้นในช่วงกลางคืน จะทำให้สปอร์ของเชื้อราเติบโตอย่างรวดเร็ว

ปัญหาจากแมลง
เพลี้ยแป้ง (Mealy Bug)
เป็นแมลงขนาดเล็กศัตรูตัวสำคัญของแคคตัส ลำตัวอ่อนนุ่มปกคลุมด้วยผงสีขาวและไขมัน มักซ่อนอยู่ในบริเวณที่มองเห็นได้ยากเช่น รอบๆ ฐานตุ่มหนาม ซอกหนาม โคนต้น และที่ราก
อาการ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของต้น ทำให้ต้นหงิกงอเหี่ยวแห้ง ชะงักการเจริญเติบโตและอาจตายได้ในที่สุด
วิธีป้องกันกำจัด เก็บทิ้ง ใช้แอลกอฮอล์เช็ดที่ผิวต้น หากระบาดมากให้ฉีดพ่นด้วยสารประเภทดูดซึมอย่างมาลาไธออนหรือไพรีทรอยด์ทุก 7-10 วัน
เพลี้ยแป้งที่ราก (Root Medly Bug)
เป็นแมลงที่อันตราย ลักษณะคล้ายเพลี้ยแป้งมักอาศัยอยู่ที่ราก
อาการ กัดทำลายระบบราก ต้นจะเหี่ยวและตายในที่สุด
วิธีป้องกันจำกัด ใช้วิธีเดียวกับเพลี้ยแป้ง
เพลี้ยหอย (Scale Insect)
เป็นแมลงที่มีรูปร่างกลมคล้ายหัวเข็มหมุด ขับสารเคมีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งสีน้ำตาลออกมาเป็นเปลือกแข็งคล้ายเปลือกหอยหุ้มตัวไว้ มักอาศัยอยู่บริเวณโคนหนาม
อาการ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของต้น ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต
วิธีการป้องกัน แคะออกด้วยไม้จิ้มฟัน หากระบาดมากให้ฉีดพ่นด้วยสารประเภทดูดซึมอย่างมาลาไธออนหรือนิโคติลซัลเฟต
เพลี้ยอ่อน (Aphids)
ลำต้นมีสีเขียว น้ำตาลปนแดงหรือดำ มักเกาะอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนอ่อนๆ ของต้นหรือที่บริเวณดอก ต้นจะแคระแกร็น เจริญเติบโตผิดลักษณะ
เพลี้ยไฟ (Thrips)
เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก เคลื่อนที่ได้เร็ว
อาการ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของต้น ทำให้ผิวต้นซีดเป็นจุดสีขาวหรือสีเหลือง
วิธีป้องกันจำกัด ฉีดพ่นด้วยสารประเภทดูดซึมอย่างนิโคตินซัลเฟต
ไรแดง (Red Spider Mites)
ไรแดงเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยจะเห็นเป็นจุกขนาดเล็กสีแดงหรือสีน้ำตาลแห้ง
อาการ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต
วิธีป้องกันกำจัด ฉีดน้ำไล่หรือฉีดพ่นด้วยสารประเภทดูดซึม เช่น มาลาไธออน โดยฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน
ทากและหอยทาก (Snails&Slugs)
เป็นศัตรูที่ก่อปัญหามากเช่นกัน พวกนี้จะคอยกัดกินต้นไม้
อาการ กัดกินต้น
วิธีป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีที่เป็นผงโรยไล่ทาก หากมีไม่มากก็ใช้มือจับออกไป
ข้อแนะนำ
* การใช้ยาฆ่าแมลงนั้นจะใช้ต่อเมื่อพบว่าต้นถูกแมลงรบกวนและจะหยุดใช้ยาต่อเมื่อมั่นใจว่าแมลงเหล่านั้นหมดไปจากต้น
* เพลี้ยแป้งจะขับถ่ายสารเหนียวคล้ายน้ำหวานที่มดชอบ เพลี้ยจะเกาะอาศัยมดแพร่ระบาดไปยังส่วนต่างอื่นๆ หรือต้นอื่นๆ
* เพลี้ยอ่อนจะขับถ่ายสารเหนียวคล้ายกับเพลี้ยแป้ง นอกจากจะเป็นอาหารของมดแล้วยังเป็นอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของราดำ (Sooty mold) ด้วย ราดำจะเกาะตามผิวต้นทำให้ดูสกปรกบังส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้ต้นสังเคราะห์แสงได้น้อยลง
* ไรแดงจะระบาดมากในช่วงที่มีอากาศร้อน
* หากสังเกตพบว่ามีรอยสีเงินตามพื้น แสดงว่าหอยทากกำลังจู่โจมแคคตัสอยู่ โดยเฉพาะต้นที่อยู่ในที่ร่มที่มีความชื้นสูง

บ้านของแคคตัส

โรงเรือนของแคคตัส
โรงเรือนแคคตัสมีหลายแบบวัสดุที่ใช้ก็มีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับเงินในประเป๋าของผู้เลี้ยงเป็นหลัก ขนาดของโรงเรือนก็ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ที่มีอยู่ โครงสร้างอาจจะทำด้วยเหล็กตัวซี ไม้ หรือเหล็กฉาก หลังคำทำจากพลาสติกใสที่สำคัญคือโรงเรือนต้องให้แสงผ่านได้อย่างน้อย 50-70 เปอร์เซ็นต์และได้รับแสงไม่น้อยกว่าวันละ 5-6 ชั่วโมง ด้านข้างของโรงเรือนควรเปิดโล่งเพื่อให้ระยาบอากาศ และที่สำคัญอีกเรื่องต้องกันฝนได้






โต๊ะวางแคคตัส
โต๊ะที่วางแคคตัสควรโปร่งเพื่อให้ระบายนำและอากาศได้ดี หากปูหน้าโต๊ะด้วยกระเบื้องแผ่นเรียบก็ควรทำเป็นหลังเต่าให้น้ำระบายลงไปด้านล่างได้ ขนาดของโต๊ะไม่ควรกว้างเกินกว่าที่มือจะเอื้อมไปขอบโต๊ะอีกฝั่งได้ถึง และสามารถเดินได้รอบแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่มี

การขยายพันธุ์แคคตัส(ต่อ)

เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก ช่วยให้ได้ต้นใหม่ที่แข็งแรงเป็นจำนวนมากแต่ใช้เวลาค่อนข้างนาน มีขั้นตอนดังนี้
รีดเมล็ดภายในฝักออกมา นำไปตากให้แห้ง
เตรียมกระถางเพาะ ใส่วัสดุเพาะให้หนาสามส่วนสี่ของกระถาง โรยทับด้วยขุยมะพร้าวละเอียดบางๆ
นำกระถางไปแช่ในน้ำให้วัสดุเปียกชุ่มทั่งทั้งหมด จึงนำขึ้นมาพักให้สะเด็ดน้ำ
โรยเมล็ดกระจายให้ทั่ว แล้วกลบทับด้วยทรายหยาบบางๆ
นำกระถางใส่ในถุงพลาสติกมัดปากถุงให้แน่น แล้วจึงนำไปวางไว้ในที่ร่มแต่มีแดดส่องถึง
ประมาณ 2-7 วัน เมล็ดจะงอก
หลังจากนั้น 2-3 เดือนต้นจะเริ่มมีหนามอ่อนๆ จึงนำกระถางออกมาจากถุงเพื่อให้การระบายอากาศดีขึ้น
ย้ายต้นไปที่ที่มีแสงสว่างมากขึ้น แต่ห้ามโดนแสงแดดโดยตรง พ่นน้ำให้บ้างถ้าวัสดุปลูกแห้ง
เมื่อต้นเติบโตแข็งแรงพอ ซึ่งอาจใช้เวลาถึง 1 ปีจึงค่อยๆ แยกแต่ละต้นลงปลูกในกระถางขนาด 2 นิ้ว รดน้ำตามปกติและให้ปุ๋ยในอัตราที่เจือจาง 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
เทคนิคการเพาะเมล็ดให้ได้ผล
วิธีการเก็บและเตรียมเมล็ด
ควรเก็บฝักก่อนที่จะสุกเพราะฝักอาจแตก ดีดเมล็ดกระเด็นหายไปได้
ถ้าเมล็ดมีวุ้นหุ้มอยู่ให้ใช้วิธีรีดเมล็ดในน้ำ ขยี้เมล็ดให้กระจายเพื่อล้างเมือกออก
เมล็ดที่ใหญ่และมีเปลือกนอกแข็ง ควรนำไปแช่เย็นประมาณ 48 ชั่วโมงก่อนนำมาเพาะ
วิธีเตรียมวัสดุเพาะ
ใช้ทรายหยาบหนึ่งส่วนผสมกับพีตมอสหรือเพอร์ไลต์หนึ่งส่วนเป็นวัสดุเพาะ และผสมยากันราชนิดผงลงไปเล็กน้อย
ควรคั่ว นึ่ง หรืออบฆ่าเชื้อวัสดุเพาะก่อนนำมาใช้
วิธีการเพาะเมล็ด
กรณีที่เมล็ดมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ให้กดเมล็ดลงในเครื่องปลูกลึกประมาณสองเท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเมล็ด และให้แต่ละเมล็ดห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต
หลังจากนำกระถางเพาะใส่ในถุงพลาสติกแล้วต้องมัดให้แน่นและห้ามเปิดออก เพื่อรักษาความชื้นในถุงให้คงที่ตลอดเวลา
ควรระวังอย่าให้ความชื้นสูงเกินไป อาจป้องกันโดยรองให้กระถางเพาะอยู่สูงจากพื้น เพื่อเพิ่มการระบายอากาศ
ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเพาะจนถึงนำออกจากถุง ห้ามรดน้ำเด็ดขาดเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นได้รับความกระทบกระเทือนและเน่าตาย หรือเป็นโรคเน่าคอดิน (damping off)
วิธีดูแลต้นอ่อน
รดน้ำให้บ้างเมื่อวัสดุเริ่มแห้ง ใช้วิธีพ่นน้ำเป็นฝอยและอย่าให้น้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้เน่า
ระวังอย่าให้ได้รับแสงโดยตรงและมากเกินไป เพราะต้นจะสุกตายได้ควรจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณแสงทีละน้อย ปริมาณแสงที่เหมาะสมจะทำให้ต้นอ่อนแข็งแรง ชูยอดตั้งตรง
ข้อแนะนำ
การเพาะเมล็ดจะมีโอกาสได้พันธุ์ใหม่ที่เกิดจากการกลายพันธุ์

การขยายพันธุ์แคคตัส

การขยายพันธุ์แคคตัสทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการขยายพันธุ์โดยรวมอย่างกว้าง เพื่อใช้เป็นหลักในการขยายพันธุ์ ส่วนแคคตัสพันธุ์ใดควรจะใช้วิธีขยายพันธุ์แบบไหนนั้น ควรสอบถามมาจากผู้ขายหรือสังเกตลักษณะทางกายภาพของต้นนั้นๆ ว่าจะประยุกต์ให้เข้ากับวิธีการใดได้บ้าง
การตัดแยกหน่อหรือต้น
1. แคคตัสที่ต้นมีลักษณะเป็นลำสามารถตัดลำหรือยอดไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้
2. แคคตัสที่เกิดหน่อใหม่ที่โคนต้นหรือบนยอดสามารถตัดไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้ทันที
3. แคคตัสที่มีหน่องอกตามลำต้นเดิมควรปล่อยให้หน่อนั้นเติบโตจนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 เซนติเมตร จึงค่อยตัดไปปลูก
4. แคคตัสที่มีต้นมีลักษณะเป็นแผ่นแบน เช่น สกุล Opuntia , Zygocactus , Epiphyllum , และ Schlumbergera สามารถตัดลำต้นบางส่วนมาปลูกได้
ข้อแนะนำ

* การตัดชำในช่วงฤดูฝนจะได้ผลดี
* การตัดส่วนของต้นเพื่อแยกหน่อควรใช้มีดที่คมและสะอาด
* ทารอยแผลที่ตัดด้วยยากันราหรือกำมะถันผง เพื่อป้องกันโรค
* หลังจากตัดหน่อ กิ่ง หรือยอดมาแล้วควรทิ้งไว้ให้แห้งก่อนนำไปปลูก
* วัสดุปักชำให้ใช้ดินร่วน 1 ส่วนผสมกับทรายหยาบ 2 ส่วน
* รอจนกว่าต้นใหม่ที่ชำงอกรากจึงรดน้ำตามปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เน่าตาย

การต่อยอด
วิธีการต่อยอดนิยมใช้กับ
แคคตัสที่มีสีอื่นๆ ที่ไม่ใช่สีเขียวเช่น ยิมโนบางพันธุ์หรือต้นที่เป็นพันธุ์ด่าง จะไม่สามารถสร้างอาหารเลี้ยงต้นเองได้หรือสร้างอาหารได้ไม่เพียงพอ พันธุ์ที่หายากหรือโตช้า การต่อยอดจะช่วยให้ต้นแตกกิ่งแตกหน่อและออกดอกเร็วขึ้น
การเลือกต้นตอที่เหมาะสม
ต้นตอ (stock) ที่จะนำมาใช้ควรเป็นต้นที่สมบูรณ์และแกนต้นยังไม่แข็ง ต้นตอที่นิยมใช้ส่วนใหญ่มักเป็นแคคตัสที่มีลักษณะเป็นลำ ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
กลุ่ม Hylocereus , Selenicereus หรือตอสามเหลี่ยมที่เห็นอยู่ทั่วไป ต้นตอกลุ่มนี้มีความแข็งแรง หาอาหารเก่งและโตเร็ว แต่ก็มีข้อเสียที่มีอายุการใช้งานจำกัดไม่เกิน 3-5 ปี ชนิดที่นิยมใช้คือ “โบตั๋นสามเหลี่ยม” (Hylocereus guatemalensis)
กลุ่ม Trichocereus , Myrtillocactus , Stenocereus และ Echinopsis ต้นตอกลุ่มนี้มีอายุการใช้งานไม่จำกัด แต่โตช้ากว่ากลุ่มแรก ข้อเสียคือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับต้นพันธุ์ (scion) ขนาดเล็กและต้องใช้ต้นตอที่มีขนาดยาวพอสมควร ทำให้ขาดความสวยงาม
ต้นตอดังกล่าวบางครั้งจะมีปัญหาในกรณีที่ต้นพันธุ์ที่ต้องการนำมาต่อมีขนาดเล็กกว่าต้นตอมาก ปัจจุบันจึงมีการต่อยอดโดยใช้ Pereskiopsis เป็นต้นตอซึ่งมีข้อดีคือมีความแข็งแรง โตเร็ว และที่สำคัญคือสามารถใช้ต่อกับต้นพันธุ์ที่มีขนาดเล็กได้ดี โดยเฉพาะต้นพันธุ์ที่ยังเป็นต้นอ่อนมีอายุไม่เกิน 6 เดือน รวมทั้งต้นพันธ์ที่หายากโตช้า จะให้ผลที่ดีมาก
ขั้นตอนการต่อยอด
เฉือนต้นตอให้หน้าตัดเรียบเสมอกัน
เฉือนขอบรอยตัดทุกด้านให้ลาดเอียง 45 องศา
เฉือนต้นพันธุ์ให้หน้าตัดเรียบเสมอกัน และมีขนาดใกล้เคียงกับต้นตอ
วางต้นพันธุ์บนต้นตอ ยึดด้วยเทปใสหรือด้าย นำไปวางในที่ร่มและไม่ให้ถูกน้ำประมาณ 1 สัปดาห์
เมื่อรอยต่อเชื่อมติดกัน (ใช้เวลา 1-2 สัปดาห์) จึงแกะเทปใสหรือด้ายออก นำไปปลูกเลี้ยงตามปกติ
ข้อแนะนำ
* ต้นตอที่มีแกนต้นแข็งอาจทำให้ต่อยอดไม่ติด ต้นที่ต่อจะไม่แข็งแรง ทำให้การต่อยอดล้มเหลว
* เทคนิคการต่อยอดให้ได้ผล เส้นผ่าศูนย์กลางของรอยตัดระหว่างต้นตอกับและต้นพันธุ์ควรมีขนาดใกล้เคียงกัน รอยตัดต้องเรียบเสมอกันเพื่อให้เนื้อเยื่อประสานกันได้ดี การเฉือนขอบรอยตัดของต้นตอให้ลาดเอียง 45 องศาเพื่อเวลาไม้ต่อติดแล้วรดน้ำจะได้ไม่ขัง เพราะจะทำให้รอยต่อเน่าได้

การดูแลแคคตัสให้เติบโต

วิธีการเปลี่ยนกระถาง
หลังจากปลูกแคคตัสไประยะหนึ่ง ต้นอาจจะไม่เติบโตงอกงามเหมืนเช่นที่ผ่านมา หรือเมื่อยกกระถางดูแล้วเห็นรากเริ่มโผล่พ้นกระถางออกมานั่นเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่าถึงเวลาที่ต้องทำการเปลี่ยนกระถางเสียที
การเปลี่ยนกระถางจะก่อให้เกิดผลดีต่อแคคตัส 3 ประการ คือ
1. ทำให้รากมีพื้นที่เพียงพอในการเจริญเติบโต รากที่อัดแน่นเกินไปจะทำให้ความสามารถในการดูดสารอาหารน้อยลง เป็นสาเหตุให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต
2. ทำให้ดินไม่แน่นจนเกินไป อากาศและน้ำไม่สามารถไหลเวียนได้อย่างทั่งถึง
3. ช่วยปรับสภาพดินที่ไม่สมดุลอันเกิดจากการให้ปุ๋ยและน้ำเป็นระยะเวลายาวนาน
ควรเปลี่ยนกระถางในขณะที่วัสดุปลูกมีความชื้นพอสมควร คือไม้แห้งหรือไม้แฉะจนเกินไป ถ้าเป็นกระถางดินเผาให้ใช้นิ้วค่อยๆ ดันรูระบายน้ำที่ก้นกระถางจนต้นขยับออกจากกระถาง แต่ถ้าเป็นกระถางพลาสติกให้บีบปากกระถางเบาๆ จนดินภายในกระถางร่วงออกจากขอบกระถาง แล้วจึงค่อยๆเอียงกระถางเทต้นออกมา สังเกตดูรากว่ายังแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ ถ้าจำเป็นก็ให้ตัดแต่งรากที่เน่าเสียออก หลังจากนั้นค่อยๆเขย่าต้นไม้เบาๆเพื่อให้ดินเก่าหลุดออกบ้างบางส่วน และรากที่เกาะกลุ่มกันอยู่คลายตัวแล้วจึงย้ายปลูกลงในกระถางใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม
- เมื่อปลูกแคคตัสไประยะหนึ่งอาจมีฝุ่นเกาะอยู่ตามผิวต้น ก็ควรดูแลทำความสะอาดเพื่อให้ต้นได้รับแสงเพื่อปรุงอาหารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ใช้แปรงขนนุ่มปัดไล่ฝุ่นออกหรือใช้ที่เป่าผม (dryer) โดยเลือกใช้ระดับลมที่เบาที่สุด เป่าให้ห่างจากต้นไม้ประมาณ 15 เซนติเมตร ค่อยๆเป่าไล่ฝุ่นออก การปล่อยให้ฝุ่นเกาะตามผิวต้นมากๆ อาจทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตได้
- หมั่นคอยสังเกตต้น หากเห็นส่วนไหนเน่าแห้งให้ตัดทิ้งอย่าไปเสียดาย เพราะอาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและแมลง สำหรับต้นที่ถูกละเลยไม่สนใจมาเป็นเวลานานจนทรุดโทรม ให้จัดการตัดแต่งส่วนที่เสียหายออกให้หมด โดยตัดให้เหนือจุดที่เสียหายประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร หลังจากนั้นจึงรดน้ำและให้ปุ๋ย
- สำหรับแคคตัสที่แตกหน่อเติบโตรวมกันเป็นกลุ่ม การตัดแต่งรูปทรงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะนอกจากจะทำให้ต้นสวยงามแล้ว ยังทำให้ต้นแตกหน่อใหม่ที่แข็งแรงกว่าเดิม
- หลังจากที่แคคตัสผลิดอกจนกระทั่งดอกเริ่มโรย ควรเด็ดดอกที่เหี่ยวแห้งออกด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ทั้งนี้เพื่อความสวยงามและเพื่อสุขภาพที่ดีของต้น
- ทำความสะอาดบริเวณโคนต้น ตรวจดูว่ามีแมลงรบกวนหรือไม่ถ้าพบก็กำจัดออกเสีย
ถ้าอยากปลูกแคคตัสไว้ในบ้านก็ควรตั้งไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง สังเกตทิศทางของแสงถ้าแสงเปลี่ยนทิศทางก็ควรย้ายต้นตาม ควรหมั่นสังเกตต้นว่ามีสีซีดลงหรือไม่ ลำต้นยืดยาวเกินไปหรือเปล่า หนามหดสั้นหรือดูแคระแกร็นไปไหม ถ้าเกิดอาการเหล่านี้กับแคคตัสนั่นแสดงว่าต้นได้รับแสงไม่เพียงพอกับความต้องการ ให้รีบตัดแต่งลำต้นส่วนที่ได้รับความเสียหายทิ้งและย้ายต้นไม้ไปยังบริเวณที่มีแสงเพียงพอ ต้นไม้ก็ค่อยๆแข็งแรงดังเดิม
ส่วนกรณีที่อยากยกกระถางมาตั้งภายในห้องหรือในที่ร่มนั้น ควรปล่อยให้ดินปลูกแห้งเสียก่อนที่จะนำเข้ามาไว้ในห้อง และไม่ควรรดน้ำในขณะที่ต้นยังตั้งอยู่ในห้องด้วยเพราะในห้องนั้นไม่มีแสงแดดที่จะให้ต้นดูดน้ำไปใช้สังเคราะห์แสง ถ้าวัสดุปลูกเปียกต้นอาจเน่าตายได้ จะรดน้ำก็ต่อเมื่อนำต้นออกไปรับแสงเท่านั้น
ปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหาหลักของผู้ปลูกแคคตัสเกือบทุกคนก็ว่าได้ คือปัญหาที่แคคตัสบางพันธุ์ค่อนข้างจะอ่อนไหวต่อแสง ต้นจะไม่ยอมผลิตาดอกจนกว่าจะได้รับแสงไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นเมื่อเลือกซื้อแคคตัสก็ควรสอบถามข้อมูลจากผู้ขายว่าต้นต้องการแสงมากน้อยแค่ไหน ออกดอกช่วงไหน ควรงดน้ำในช่วงไหนบ้าง จะได้กำหนดบริเวณที่จะตั้งและการรดน้ำได้ถูกต้องตรงตามความต้องการ
ข้อแนะนำ
* การตัดแต่งควรทำในช่วงฤดูฝน ไม่ควรตัดแต่งในช่วงฤดูที่ต้นผลิดอก
* การตัดแต่งควรใช้กรรไกรหรือมีดที่คม เพราะถ้าใช้กรรไกรทื่อจะทำให้เกิดรอยแผลมากเกินความจำเป็น จนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้

การดูแลแคคตัส(ต่อ)

ปุ๋ย
ถึงแม้ว่าในวัสดุที่ใช้ปลูกแคคตัสจะมีธาตุอาหารจากวัสดุที่ใส่ผสมเช่น ปุ๋ยคอกหรือใบไม้ผุแล้วก็ตามแต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของต้น ซึ่งควรให้ปุ๋ยแก่ต้นเพิ่มบ้างโดยเลือกปุ๋ยสูตรที่มีปริมาณธาตุฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) สูงกว่าไนโตรเจน (N)
ธาตุฟอสฟอรัสจะช่วยบำรุงให้ต้นออกดอกติดเมล็ดได้ดี
ธาตุโพแทสเซียมช่วยเพิ่มความต้านทานให้แก่ต้น และช่วยให้ต้นดูดซึมน้ำและอาหารได้ดีขึ้น
ธาตุไนโตรเจนนั้นช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต
สิ่งที่ต้องระวัง คือ อย่าให้แคคตัสได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไปเพราะจะทำให้ต้นโตเร็ว เซลล์ขยายตัวมากแต่ผนังเซลล์จะบางอาจทำให้ต้นปริแตก หรือที่เรียกว่าต้นระเบิดอีกทั้งต้นจะอ่อนแอเป็นโรคได้ง่าย
วิธีการให้ปุ๋ย
ควรให้ปุ๋ยแก่แคคตัสทุก 2 สัปดาห์โดยใช้ในอัตราที่เจือจางกว่าที่ระบุในฉลากครึ่งหนึ่ง เนื่องจากแคคตัสปลูกอยู่ในกระถางขนาดเล็กที่มีวัสดุปลูกอยู่เพียงน้อยนิด วัสดุปลูกไม่สามารถเก็บสารอาหารจากปุ๋ยได้มากนักต้นเองก็ไม่ได้ดูดเอาสารอาหารไปใช้มากสักเท่าไหร่ ให้ปุ๋ยบ่อยๆก็เป็นการสิ้นเปลืองและถ้าให้ปุ๋ยในอัตราที่เข้มข้นเหมือนการให้ปุ๋ยต้นไม้อื่นทั่วไปก็จะเป็นอันตรายต่อแคคตัสได้ นอกจากการให้ปุ๋ยกับต้นแล้วก็ควรจะฉีดยากันราให้ต้นด้วยอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนควรผสมยากันราในน้ำทุกครั้งที่ใช้รด
ปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับแคคตัส
ปุ๋ยออสโมโคทสูตรเร่งดอก โรยรอบกระถาง 3-5 เม็ดทุก 3 เดือน
ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำของกล้วยไม้สูตรเร่งดอก ผสมในน้ำปริมาณเจือจางกว่าที่ฉลากกำหนดครึ่งหนึ่ง รดแทนน้ำทุก 2 สัปดาห์
ข้อแนะนำ
* แคคตัสที่ได้รับปุ๋ยมากเกินไป ต้นจะเจริญเติบโตผิดปกติ มีลักษณะที่เรียกว่าหงอน (Cristata) ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งที่ผู้ปลูกเลี้ยงนิยมเก็บสะสมกันไว้
* สามารถผสมปุ๋ยลงในน้ำที่ใช้รดได้ทุกครั้ง เพียงแต่ต้องผสมในอัตราที่เจือจางมากกว่าการให้โดยปกติ (ลดลงจากปกติ 70%)
* อาจจะผสมยากันราและยาป้องกันแมลงร่วมกับปุ๋ยที่ใช้รดทุก 2 สัปดาห์ด้วยก็ได้
* เราสามารถใช้ปุ๋ยชีวภาพกับแคคตัสได้ มีข้อดีที่ต้นจะเขียวและมีระบบรากดีแต่มีข้อเสียที่มีกลิ่นเหม็น มีธาตุอาหารไม่ครบและมักมีมดมาขึ้นเพราะมีส่วนผสมของกากน้ำตาล

การดูแลแคคตัส

ในการดูแลรักษาแคคตัสนั้นจะต้องคำนึงถึงความต้องการของแคคตัสว่าต้องการอะไร
น้ำ
แคคตัสเป็นต้นไม้ที่ไม่ค่อยชอบน้ำมาก นักเล่นมือใหม่ส่วนใหญ่มักจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือไม่ก็ห่วงกลัวต้นจะไม่โตเลยเอาใจรดน้ำให้จนแฉะมีผลทำให้รากเน่า เป็นเหตุให้ต้นต้องตายในที่สุด จริงๆ แล้วแคคตัสสามารถทนแล้งและทนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี ต้นจะเพียงแค่ชะงักการเจริญเติบโตเท่านั้น เมื่อความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมาต้นก็จะเริ่มเจริญเติบโตอีกครั้ง
ในสภาพธรรมชาติแล้ว แคคตัสไม่ได้ต้องการน้ำตลอดเวลาต้นจะต้องการน้ำเฉพาะช่วงที่มีการการเจริญเติบโตเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะตรงกับช่วงฤดูฝนที่อากาศมีความชื้นสูง ส่วนช่วงฤดูหนาวแคคตัสจะพักตัวและเป็นช่วงที่ต้นแทบจะไม่ต้องการน้ำเลย
ดังนั้นในฤดูฝนจึงควรรดน้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งพอเข้าสู่ฤดูหนาวที่อากาศเริ่มแห้งแล้ง แคคตัสจะเข้าสู่ภาวะพักตัวช่วงนี้ควรให้น้ำแต่น้อยจนย่างเข้าสู่ฤดูร้อนจึงเริ่มค่อยๆ ให้น้ำมากขึ้น การให้น้ำมากไปในช่วงที่ต้นพักตังอาจเป็นสาเหตุทำให้แคคตัสไม่ผลิดอก เพราะฉะนั้นเมื่อซื้อแคคตัสมาก็ควรจะถามผู้ขายด้วยว่าต้นจะพักตัวและออกดอกช่วงไหน จะได้ทราบว่าควรงดรดน้ำในช่วงไหนเพื่อให้ต้นผลิดอก
วิธีการรดน้ำที่ถูกต้องคือ ต้องรดน้ำให้โชกจนน้ำไหลออกมาทางรูระบายที่ก้นกระถาง การรดน้ำให้โชกยังมีประโยชน์ช่วยชะล้างเอาสารพิษต่างๆ ที่อาจเกิดสะสมให้เจือจางลงหรือหมดไป และจะรดน้ำอีกครั้งเมื่อวัสดุปลูกแห้งเท่านั้น แต่ทั้งนี้ความถี่ในการรดน้ำก็ขึ้นอยู่กับ
สถานที่ตั้งกระถาง ว่าได้รับแสงมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งฤดูกาล
ความโปร่งร่วนของวัสดุปลูก
ขนาดและชนิดของภาชนะปลูก ถ้าเป็นกระถางดินเผาก็ต้องรดน้ำให้บ่อยกว่ากระถางพลาสติก
ปัจจัยที่มีผลต่อการรดน้ำ
ไม่ว่าจะเป็นชนิดหรือขนาดของกระถาง ชนิดของวัสดุปลูก รวมทั้งสถานที่ตั้งกระถางต่างก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อการรดน้ำทั้งสิ้นอย่างเช่น กระถางต่างชนิดก็จะมีความสามารถในการระเหยน้ำต่างกันเปรียบเทียบง่ายๆ เช่น ถ้ารดน้ำให้ต้นที่ปลูกในกระถาง 3 ชนิดต่างกันในปริมาณที่เท่าๆกัน เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งวันน้ำในกระถางดินเผาจะแห้งไปหมด ขณะที่ถ้าเป็นกระถางพลาสติกจะแห้งใน 2 วัน กระถางเซรามิกจะแห้งใน 3 วัน สรุปง่ายๆ คือ
กระถางต่างชนิดกัน แต่มีขนาดเท่ากัน ระเหยน้ำด้วยความเร็วไม่เท่ากัน
กระถางชนิดเดียวกัน แต่ต่างขนาดกัน ระเหยน้ำด้วยความเร็วไม่เท่ากัน
กระถางชนิดเดียวกัน ขนาดเท่ากัน แต่ใช้วัสดุปลูกต่างกัน ระเหยน้ำด้วยความเร็วไม่เท่ากัน
กระถางชนิดเดียวกัน ขนาดเท่ากัน ใช้วัสดุปลูกเหมือนกัน แต่ตั้งไว้คนละที่กัน ระเหยน้ำด้วยความเร็วไม่เท่ากัน
กระถางชนิดเดียวกัน ขนาดเท่ากัน ใช้วัสดุปลูกเหมือนกัน ตั้งไว้ที่เดียวกันแต่สภาพอากาศไม่เหมือนกันในแต่ละวัน ระเหยน้ำด้วยความเร็วไม่เท่ากัน
ดังนั้นสิ่งที่ควรทำในกรณีที่ซื้อแคคตัสมาจากหลายที่หลายแหล่ง คือ
เปลี่ยนกระถางให้เป็นชนิดเดียวกัน
ใช้วัสดุปลูกที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ที่ปลูก
ตั้งกระถางในที่มีสภาพแวดล้อมที่คล้ายกัน
ข้อแนะนำ
* ลืมรดน้ำให้แคคตัสต้นก็ยังอยู่ได้ แต่ถ้ารดน้ำมากหรือบ่อยเกินไปแคคตัสตายแน่ๆ
* ควรรดน้ำในช่วงเช้า เพื่อให้น้ำที่ค้างขังอยู่บนต้นถูกแดดระเหยไปไม่ควรให้น้ำเกาะค้างอยู่กับต้น เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเน่าหรือถูกแดดเผาได้
* อุปกรณ์ตรวจสอบการรดน้ำอย่างง่าย ใช้ไม้จิ้มฟันหรือไม้เสียบลูกชิ้นแห้งๆ จิ้มลงไปในวัสดุปลูกให้ลึกถึงก้นกระถาง ทิ้งไว้สักครู่แล้วดึงขึ้นมาดูถ้าไม้ยังชื้นอยู่ก็ไม่ต้องรดน้ำ ถ้าไม้แห้งก็รดน้ำได้
* โดยส่วนใหญ่แคคตัสที่ตั้งในอาคาร น้ำจะระเหยแห้งภายใน 5-7 วัน ส่วนแคคตัสที่ตั้งนอกอาคารน้ำจะระเหยแห้งหมดในเวลา 2-3 วัน
* ใช้น้ำประปารดน้ำให้แคคตัสได้ แต่ถ้าให้ดีควรเป็นน้ำประปาที่รองจากก๊อกแล้งทิ้งไว้ 2-3 วันให้คลอรีนระเหยให้หมดก่อน


แสงและอุณหภูมิ

แคคตัสส่วนมากชอบแสงแดด ต้นควรจะได้รับแสงอย่างจัดจ้าที่ส่องมาโดนต้นโดยตรง ควรพลางแสงให้ลดลงเหลือ 50-80 % แสงที่เหมาะสมคือแสงช่วงเช้าหรือช่วงบ่ายที่ไม่แรงเกินไป แคคตัสที่ได้รับแสงพอเหมาะนั้นต้นจะเจริญเติบโตได้ดี สีสันของต้นและหนามสดใสสวยงาม และออกดอกในช่วงระยะเวลาที่ตรงตามลักษณะพันธุ์ ต้นที่ได้รับแสงมากเกินไป ผิวต้นจะกร้านไม่สดใสอาจไหม้ตายได้ แต่ถ้าแสงน้อยเกินไปหนามก็จะหดสั้น ต้นยืดสูงขึ้นรากไม่งอกงามและต้นไม่โต
สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแคคตัสไม่ควรต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสและไม่ควรเกิน 37 องศาเซลเซียส ช่วงอุณหภูมิที่ดีที่สุดควรอยู่ระหว่าง 27-35 องศาเซลเซียส
ข้อแนะนำ
ถ้าเปรียบเทียบระหว่างภาวะขาดน้ำกับภาวะที่แสงและอุณหภูมิไม่เหมาะสมแล้ว แคคตัสมีโอกาสตายได้สูงจากกรณีภาวะที่แสงและอุณหภูมิมากกว่า เพราะถ้าแคคตัสขาดน้ำต้นจะเพียงแค่เข้าสู่ภาวะพักตัวและจะเริ่มเจริญเติบโตอีกครั้งเมื่อได้รับน้ำ ต่างจากเมื่อได้รับแสงมากเกินไปต้นจะถูกทำลายชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด

วิธีการปลูกแคคตัส

เมื่อได้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมที่เหมาะสมและเลือกกระถางได้แล้ว มีวิธีการปลูกตามขั้นตอนดังนี้
1. หากก้นกระถางมีรูให้ใช้เศษกระถางแตกปิดรูไว้ แต่อย่าปิดให้สนิทเพื่อให้สามารถระบายน้ำออกได้
2. ใส่เศษอิฐเผาหักหรือกรวดลงไปให้หนาประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของความลึกกระถาง
3. ใส่วัสดุปลูกแล้วนำต้นลงวาง โดยวางให้ลำต้นตั้งตรงและอยู่กลางกระถาง
4. เติมวัสดุปลูกกลบที่โคนต้นให้สูงจากรากประมาณ 1 เซนติเมตร ไม่ควรให้ระดับวัสดุปลูกอยู่ต่ำกว่าขอบกระถางมากเกินไป เพื่อให้ต้นได้รับน้ำและอากาศอย่างพอเพียง
5. ใช้กรวดโรยปิดหน้าวัสดุปลูกให้ต่ำกว่าขอบปากกระถางเล็กน้อย
ข้อแนะนำ
* ถ้าจะนำกระถางดินเผาใหม่มาใช้ ควรแช่น้ำให้ดูดน้ำเต็มที่เสียก่อน ไม่เช่นนั้นกระถางจะดูดซึมน้ำจากวัสดุปลูก ทำให้ต้นไม้ได้รับน้ำไม่เพียงพอ
* ระยะห่างระหว่างขอบกระถางกับผิวต้นแคคตัสควรมีพื้นที่เหลือไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร
* ขณะนำต้นลงปลูกอาจใช้กระดาษพันต้นเพื่อป้องกันอันตรายจากหนามและป้องกันมิให้หน่อหรือต้นกระทบกระเทือน
* กรวดหรืออิฐขนาดเล็กที่โรยปิดหน้าวัสดุปลูกนั้นมีประโยชน์ดังนี้
- ป้องกันมิให้หน้าดินแห้งเร็วจนเกินไป
- ป้องกันไม่ให้วัสดุปลูกกระเด็นขณะรดน้ำ
- ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น
* ไม่ควรเลือกใช้กรวดที่มีสีฉูดฉาดจนเกินไป เพราะจะเด่นกว่าต้น
* ไม่ควรใช้กรวดจากหินปูน เพราะจะทำให้ดินเค็มเกินไป
* หากวัสดุปลูกยุบลงไป ควรหมั่นเติมอยู่เสมอ เพื่อมิให้รากโผล่พ้นดินจนได้รับความกระทบกระเทือน

การเลือกภาชนะสำหรับการปลูกแคคตัส

กระถางสำหรับปลูกแคคตัสนั้นสามารถเลือกใช้ได้ตามความพอใจอาจจะเป็นกระถางดินเผา กระถางพลาสติก กระถางเซรามิก หรือภาชนะอื่นๆ แต่ที่สำคัญคือต้องมีทางระบายน้ำอากาศได้ดีพอสมควรรวมทั้งรักษาความโปร่งและร่วนซุยของวัสดุปลูกนั้นได้ ข้อสำคัญของการเลือกกระถางสำหรับปลูกแคคตัสคือ ไม่ควรเลือกกระถางที่มีขนาดใหญ่เกินไปเพราะจะต้องใช้วัสดุปลูกมาก และยังทำให้อุ้มน้ำไว้มากเกินไป ต้นจะโตช้าบางครั้งอาจมีผลทำให้รากเน่าได้
กระถางดินเผา เป็นภาชนะที่มีการะบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดีเนื่องจากมีรูพรุนรอบๆกระถาง ทำให้วัสดุปลูกไม่ชื้นแฉะ รากได้รับออกซิเจนเพียงพอ ต้นเจริญเติบโตได้ดี อุณหภูมิของวัสดุปลูกเหมาะต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อน และมีให้เลือกหลายขนาด มีข้อเสียอยู่บ้างตรงที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก ทั้งยังแตกหักเสียหายได้ง่ายนอกจากนี้เมื่อแคคตัสเติบโตเต็มที่ รากอาจจะแผ่ไปสัมผัสกับผิวด้านข้างกระถาง ต้นอาจจะได้รับน้ำไม่เพียงพอเนื่องจากมีการระเหยน้ำมาก
กระถางเคลือบหรือเซรามิก มีความสวยงาม มีรูปทรงต่างๆให้เลือกใช้ได้ตามความต้องการ ทนทาน ผิวเป็นมันลื่น จึงไม่มีขี้เกลือหรือตะไคร่น้ำเกาะผิวนอกของกระถาง ทำให้ดูสวยงามและสะอาดอยู่เสมอ ทั้งยังทำความสะอาดได้ง่าย ข้อเสียคือราคาค่อนข้างแพง การเคลือบผิวกระถางเพื่อให้มันนั้นทำให้มีช่องระบายอากาศและน้ำค่อนข้างน้อย ความชื้นของวัสดุปลูกด้านบนและด้านล่างต่างกันมากเนื่องจากระบายน้ำได้เฉพาะทางรูระบายใต้กระถางเท่านั้น บางครั้งผิวดินด้านบนแห้งแต่ดินบริเวณก้นกระถางแฉะ ทำให้ยากต่อการสังเกตการณ์ให้น้ำ
กระถางพลาสติก มีรูปทรงและสีสันสวยงามหลายแบบให้เลือกใช้ ราคาถูก น้ำหนักเบา และไม่มีตะไคร่น้ำเกาะ กระถางพลาสติกนั้นระบายความชื้นได้ช้ากว่ากระถางดินเผา ช่วยให้ไม่ต้องรดน้ำบ่อยและรากของแคคตัสมักจะเจริญอยู่เฉพาะบริเวณกลางกระถาง ไม่แผ่ไปเกาะกับผิวด้านข้างกระถางอย่างในกระถางดินเผา รากกินน้ำกินปุ๋ยได้ดี ต้นโตเร็ว มีข้อเสียที่ไม่มีรูพรุนด้านข้างจึงถ่ายเทอากาศได้เพียงทางเดียวรากมีโอกาสขาดออกซิเจน และวัสดุปลูกจะสะสมความร้อนเป็นอันตรายต่อต้นในช่วงฤดูร้อน อีกทั้งกระถางยังกรอบหักได้ง่ายเมื่อตากแดดนานๆ นอกจากนี้ความชื้นของวัสดุปลูกด้านบนและด้านล่างในกระถางแตกต่างกัน ดังนั้นถ้ารดน้ำมากไปต้นอาจเน่าตายได้ง่าย

การปลูกและการดูแลแคคตัส

ก่อนที่จะพูดถึงวิธีการปลูกและดูแลรักษาแคคตัสนั้น เรามาดูวิธีการเลือกซื้อแคคตัสกันก่อนดีกว่า
หลักพิจารณาเลือกซื้อแคคตัสควรสังเกตจากสิ่งต่างๆ ดังนี้
ผิวต้นเต่งตึงและมีสีสันสดใส ไม่มีรอยแผลหรือตำหนิ
หนามควรกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ และไม่หักเสียหาย
วัสดุปลูกต้องสะอาด ไม่มีแมลง เชื้อราหรือวัชพืช เพราะนั่นแสดงว่าต้นได้รับการดูแลมาอย่างดี
การปลูกแคคตัส
ดินที่ใช้ในการปลูกแคคตัส
มีหลายคนคิดและเข้าใจว่าแคคตัสเป็นพืชทะเลทราย จึงน่าจะเติบโตได้ดีในทรายหรือดินทราย แต่ความจริงแล้วแคคตัสก็ต้องการดินหรือวัสดุปลูกที่มีลักษณะไม่ต่างไปจากต้นไม้อื่นๆมากนัก วัสดุปลูกของแคคตัสควรมีลักษณะ
- โปร่ง ร่วนซุย เพื่อให้รากเติบโตแผ่ขยายออกไปได้
- ระบายน้ำได้ดี ไม่เปียกและอุ้มน้ำอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ต้องสามารถเก็บความชื้นไว้ได้พอสมควร
การผสมวัสดุสำหรับปลูกแคคตัสเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากเพราะแคคตัสแต่ละชนิดต้องการวัสดุปลูกที่แตกต่างกันไป ต้องหมั่นศึกษาทดลองผสมวัสดุปลูกไปเรื่อยๆเพื่อให้ได้สูตรที่ลงตัวใช้ปลูกแล้วต้นแคคตัสผลิหนามออกดอกสวยงามให้ชื่นชม ซึ่งในปัจจุบันวัสดุปลุกที่ใช้ได้ดีมีมากมายหลายสูตร ขึ้นกับความเหมาะสมและแหล่งของวัสดุที่ใช้เป็นส่วนผสม สูตรสำเร็จที่แนะนำมีดังต่อไปนี้
สูตรที่ 1 ดินร่วน 2 ส่วน
ทรายหยาบ 3 ส่วน
ถ่านป่น 1 ส่วน
ใบไม้ผุหรือปุ๋ยหมัก 1 ส่วน

สูตรที่ 2 ดินร่วน 1 ส่วน
ถ่านป่น 1 ส่วน
ทรายหยาบ 1 ส่วน
สูตรที่ 3 ดินร่วน 1 ส่วน
ถ่านป่น 1 ส่วน
ทรายหยาบ 1 ส่วน
ใบไม้ผุ ½ ส่วน
สูตรที่ 4 ดินร่วน 4 ส่วน
ทรายหยาบ 2 ส่วน
ใบไม้ผุ 1 ส่วน
ถ่านป่น 2 ส่วน
อิฐหัก 7 ส่วน
นอกจากนี้ การเลือกใช้วัสดุปลูกควรคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งของแคคตัสประกอบด้วย คือ
ถ้าตั้งไว้ในร่มที่น้ำระเหยได้ช้า วัสดุปลูกที่ใช้ควรระบายน้ำได้ดี
ถ้าตั้งอยู่กลางแจ้งที่น้ำระเหยได้เร็ว วัสดุปลูกที่ใช้ควรอุ้มน้ำได้บ้าง
ข้อแนะนำ
* วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าวัสดุปลูกแคคตัสนั้นร่วนซุยดีหรือไม่ คือหลังจากรดน้ำแล้ววัสดุปลูกควรจะแห้งภายใน 2-3 วัน
* ถ้าหากต้นผลิหนามใหม่มีสีสดใส แสดงว่าวัสดุปลูกที่ใช้นั้นใช้ได้ดีและเหมาะสมแล้ว
* ทรายที่นำมาใช้ไม่ควรเป็นทรายละเอียด เพราะจะทำให้วัสดุปลูกแน่น
* ไม่ควรใช้กรวดเม็ดเล็กแทนทราย เพราะจะสะสมความร้อนเป็นอันตรายต่อระบบรากของแคคตัส
* เติมปูนขาวและกระดูกเผาป่นผสมลงไปในวัสดุปลูกเล็กน้อยจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีขึ้น

สายพันธุ์ของแคคตัส


ปัจจุบันมีรายงานว่าพืชในกลุ่มแคคตัสมีอยู่ประมาณ 50-150 สกุลมากกว่า 2,000 ชนิด โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ 8 กลุ่ม (ตามวิธีของ Gordon Rowley จากหนังสือ The Illustrated Encyclopaedia of Succulents) คือ
1. กลุ่ม Pereskia มีใบแท้จริง ไม่มีหนามหรือขนแข็งปลายงอ เมล็ดสีดำ และมีเยื่อหุ้มเมล็ด (aril) ได้แก่สกุล Maihuenia และ Pereskia
2. กลุ่ม Opuntia ใบมีขนาดเล็ก มีหนามหรือขนแข็งปลายงอ และมีเยื่อหุ้มเมล็ด ได้แก่ สกุล Opuntia , Pereskiopsis , Pterocactus , Quiabentia และ Tacinga
3. กลุ่ม Cereus ไม่มีใบ เมล็ดมีสีดำหรือสีน้ำตาล ต้นเป็นทรงกระบอก มีสันและหนามมากมาย ส่วนโคนดอกด้านนอกอาจมีหรือไม่มีหนามปกคลุม ได้แก่สกุล Armatocereus , Arrojadao , Bergerocactus , Brachycereus , Browningia , Calymmanthium , Carnegiea , Cephalocereus , Cereus , Corryocactus , Dendrocereus , Echinocereus , Erdisia , Escontria , Eulychnia , Harrisia , Jasminocereus , Lemaireocereus , Lophocereus , Machaerocereus , Micranthocereus , Monvillea , Myrtillocactus , Neoraimondia , Nyctocereus , Pachycereus , Peniocereus , Pilosocereus , Rathbunia , Stetsonia และ Wilcoxia
4. กลุ่ม Echinopsis คล้ายกับกลุ่ม Cereus แต่ต้นมีขนาดเล็กกว่าและผิวด้านนอกของดอกที่มีลักษณะเป็นหลอดมักมีขนหรือเกล็ดสั้นๆ ปกคลุม ได้แก่สกุล Acanthocalycium , Arequipa , Arthrocereus , Borzicactus , Cephalocleistocactus , Chamaecereus , Cleistocactus , Denmoza , Echinopsis , Espostoa , Haageocereus , Hildewintera , Lobivia , Matucana , Mila , Oreocereus , Oraya , Rebutia , Sulcorebutia , Thrixanthocereus , Weberbauerocereus และ Weingartia
5. กลุ่ม Hylocereus คล้ายกับกลุ่ม Cereus แต่เป็นพวกพืชอิงอาศัย (epiphytic) มีระบบรากอากาศ ต้นเป็นสัน หนามบอบบาง ได้แก่สกุล Aporocactus , Cryptocereus , Deamia , Discocactus, Epiphyllum , Heliocereus , Hylocereus , Mediocactus , Nopalxochia , Pfeiffera , Rhipsalidopsis , Rhipsalis , Schlumbergera , Selenicereus , Weberocereus , Wittia และ Zygocactus
6. กลุ่ม Melocactus คล้ายกับกลุ่ม Neopoteria โคนหลอดดอกมีปุยหรือไม่มีก็ได้ แต่จะมีหนามขึ้นปกคลุม ดอกเกิดบนเซฟาเลียมยกเว้นสกุล Buiningia ที่ดอกจะเกิดที่ด้านข้างของเซฟาเลียม ได้แก่ Buiningia , Discocactus และ Melocactus

7. กลุ่ม Neopoteria ต้นขนาดค่อนข้างเล็ก ทรงกลมแป้นหรือทรงกระบอก ต้นเป็นสันเห็นได้ชัดเจน โคนหลอดดอกมีปุยนุ่มและมีหนาม ได้แก่สกุล Austrocactus , Blossfeldia , Eriosyce , Frailea , Neoporteria , Notocactus , Porodia , Uebelmannia และ Wigginsia
8. กลุ่ม Echinocactus แต่ดอกจะเกิดบริเวณตอนกลางของด้านบนสุดของต้น และไม่มีเซฟาเลียม ได้แก่สกุล Ancistrocactus , Ariocarpus , Astrophytum , Aztekium , Cochemiea , Coloradao , Copiapao , Coryphantha ,Dolichothele , Echinocactus , Echinomastus , Escobaria , Ferocactus , Gymnocalcium , Hamatocactus , Homolocephala , Islaya , Leuchtenbergia , Lophophora , Mamillopsis , Mammillaria , Neobesseya , Neogomesia , Neolloydia , Ortegocactus Pediocactus , Pelecyphora , Sclerocactus , Solisis , Strombocactus , Thelocactus , Toumeya และ Utahia

ดอกของแคคตัส

คงนึกกันไม่ออกว่าแคคตัสมีดอกด้วยหรือ จริงแล้วแคคตัสจัดเป็นต้นไม้พันธุ์ที่มีดอกสวยงามไม่แพ้ต้นไม้ชนิดอื่นเช่น สกุล Epiphyllum หรือที่รู้จักในชื่อของ orchid cacti นอกจากจะมีดอกที่สวยงามแล้วแคคตัสบางชนิดก็มีกลิ่นหอมอ่อนอีกด้วย
ดอกของแคคตัสเป็นชนิดไม่มีก้านดอกรูปร่างลักษณะของดอกมีหลายแบบเช่น รูปกรวย (funnel- shaped) รูประฆัง (bell-shaped) รูปจาน (dish-like) หรืออาจมีลักษณะเป็นหลอด (tubular) มีสีสันสดใสต่างกันไปมากมาย ตั้งแต่สีขาว สีครีม สีเหลือง สีชมพู สีส้ม สีแดง บางชนิดอาจจะมีสองสีในดอกเดียวกัน ส่วนขนาดของดอกก็จะต่างกันไปตามชนิดและพันธุ์
แบ่งลักษณะดอกแคคตัสตามสมมาตรดอก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ดอกสมมาตรตามรัศมี (Actinomorphic flower) คือเมื่อแบ่งครึ่งดอกตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางแล้ว ทั้งสองด้านจะเหมือนกันทุกประการและแบ่งได้มากกว่าหนึ่งครั้ง
2. ดอกสมมาตรด้านข้าง (Zygomorphic flower) คือเมื่อแบ่งครึ่งดอกแล้วทั้งสองด้านจะเหมือนกันทุกประการ แต่แบ่งได้เพียงหนึ่งครั้งได้หลายแนว
ตำแหน่งที่เกิดดอกแคคตัสนั้นมักอยู่ที่บริเวณตุ่มหนามเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น
สกุล Echinocereus ดอกจะเกิดที่บริเวณใกล้ตุ่มหนาม
สกุล Mammillaria และ Coryphantha ดอกจะเกิดบริเวณซอกเนินหนาม
สกุล Melocactus , Discocactus และ Cephalocereus ดอกจะเกิดอยู่ในกลุ่มหนามที่บริเวณส่วนยอดของต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นปุยนุ่มสีขาวหรือสีครีม เรียกบริเวณนี้ว่า เซฟาเลียม (cephalium)

รูปร่างหน้าตาของแคคตัส




ลำต้น ของแคคตัสมีลักษณะอวบน้ำ รูปทรงต่างกันไปหลายแบบตั้งแต่ทรงกลม ทรงกระบอก ไปจนถึงรูปร่างคล้ายกระบอง มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆแตกกอเป็นกลุ่มและที่ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่ม มีทั้งขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางไม่กี่เซนติเมตร ไปจนถึงที่เป็นลูกกลมเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 1 เมตรหรือเป็นลำต้นสูงใหญ่กว่า20เมตรหรือเป็นสายห้อยลงมาแบบRhipsalis
ผิวต้นเรียบเป็นมันคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้ง เพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำของต้น ส่วนใหญ่จะมีสีเขียวเพื่อใช้สังเคราะห์แสงแทนใบสร้างอาหารเพื่อเลี้ยงต้น
ต้นจะประกอบไปด้วยส่วนที่เรียกว่า “ ตุ่มหนาม ” ( areole ) ตุ่มหนามอาจเรียงต่อกันอยู่บนแนวซี่หรือสันสูงของต้นที่เรียกว่า “สันต้น ”(rib) หรือเรียงต่อกันอยู่บนเนินนูนที่เรียกว่า “ เนินหนาม ”( tubercles ) ของต้นก็ได้
หนาม ถือว่าเป็นจุดเด่นของแคคตัส เนื่องจากมีความหลากหลายทั้งในเรื่องของรูปร่างลักษณะ อาจเป็นขนอ่อนนุ่มคล้ายขนสัตว์หรือแหลมแข็งอาจจะยามตรงหรือปลายงอเป็นตะขอ สีสันหลากหลายมากมายตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีน้ำตาล ไปจนถึงสีดำ ในบางครั้งหนามยังเปลี่ยนสีไปตามอายุหรือตามสภาพและการปลูกเลี้ยงได้อีกด้วย
หนามจะขึ้นเรียงอยู่บนตุ่มหนาม แบ่งหนามออกเป็น 2 ส่วน คือ
หนามกลาง (central spine)
หนามข้าง (radial spine)

ลักษณะทั่วไปของแคคตัส



โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักคิดว่า ต้นไม้ที่มีหนามมักเป็นแคคตัสซึ่งในความเป็นจริงแล้วแคคตัสบางสกุล เช่น Lophophora หรือ Astrophytum บางชนิดก็ไม่มีหนามแต่ถูกจัดว่าเป็นแคคตัส ในขณะที่ไม้อวบน้ำ ( succulent ) บางสกุล เช่น Euphobia ก็มีหนามแต่ก็ไม่จัดว่าเป็นแคคตัส หลักพฤกษศาสตร์กล่าวว่า พืชที่จัดว่าเป็นแคคตัสหรือจัดอยู่ในวงศ์ Cactaceae นั้นเป็นไม้ยืนต้นและจะต้องมีบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า “ตุ่มหนาม” บริเวณนี้จะเป็นที่ที่พบกลุ่มของหนามหรือขนแข็งขึ้นอยู่และเรียงไปตามแนวซี่หรือสันสูงของต้นอย่างเป็นระเบียบ อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่เกิดตาดอกและแตกกิ่งใหม่ของต้นอีกด้วย ส่วนในไม้อวบน้ำประเภททที่มีหนามนั้นหนามจะขึ้นเดี่ยวๆ กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบไปรอบๆต้น และไม่พบบริเวณตุ่มหนามเหมือนแคคตัส อีกทั้งพืชทั้งสองกลุ่มที่มีหนามนั้นอยู่กันคนละวงศ์ สิ่งสำคัญคือ ในกลุ่มของ Cactaceae นั้นดอกจะมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกกัน รังไข่จะอยู่ต่ำกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนกลุ่ม Euphobiaceae ดอกจะไม่มีทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกและรังไข่จะอยู่เหนือส่วนอื่นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ลักษณะนิสัยและความชอบ
คนส่วนใหญ่คิดว่าแคคตัสเป็นพืชที่ชอบขึ้นอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอากาศร้อนแห้งแล้ง เช่น ในทะเลทรายแต่ในความจริงแล้วแคคตัสสามารถเจริญเติบโตได้หลายพื้นที่ เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลเช่นสกุล Pachycereus ที่ขึ้นอยู่แถบชายฝั่งทะเลในประเทศเม็กซิโก บริเวณทุ่งหญ้า ในป่าที่มีความชื้นสูง ที่ความสูงระดับน้ำทะเลไปจนถึงที่ซึ่งมีระดับความสูงกว่า 4,000 เมตร อากาศหนาวเย็นอย่างเช่นทางตอนเหนือ และตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาที่อากาศร้อนแห้งแล้ง เช่น ทะเลทราย บริเวณที่ราบ แม้แต่ตามซอกหินไหล่เขา ซึ่งมีดินที่อุดมสมบูรณ์หรือเป็นหินแข็ง นอกจากนี้ยังพบว่ามีแคคตัสหลายชนิดที่เจริญเติบโตได้โดยอาศัยพืชอื่น เช่น แคคตัสพวก Ephithelanta bokei ที่เจริญเติบโตขึ้นจากเมล็ดโดยอาศัยร่มเงาและความชื้นจากพืชในกลุ่ม xerophyte พวก Selaginella lepidophylla ( Resurrection Plant ) จากที่กล่าวมานั้นย่อมแสดงว่า แคคตัสสามารถเจริญอยู่ได้ในทุกสภาพพื้นที่และสภาพอากาศของโลกเกือบทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะแถบทะเลทรายเท่านั้นแต่อย่างไรก็ตามแคคตัสแต่ละพันธุ์ก็ย่อมเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแตกต่างกันไป

ประวัติความเป็นมาของแคคตัสในเมืองไทย

ไม่มีบันทึกแน่ชัดว่ามีการนำแคคตัสเข้ามาปลูกเลี้ยงในบ้านเราตั้งแต่เมื่อใด เดิมนั้นเรารู้จักแคคตัสแค่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่เห็นอยู่ทั่วๆไปเช่น เสมา โบตั๋น และนิยมเรียกต้นไม้กลุ่มนี้ว่า ตะบองเพชรหรือกระบองเพชร เนื่องจากลักษณะของต้นที่เป็นลำสูงยาวคล้ายกระบองที่มีหนามส่องประกายกระทบแวววาวสวยงาม
จากบทความในจุลสารของชมรมกระบองเพชรแห่งประเทศไทยโดย “กระท่อมลุงจรณ์” กล่าวไว้ว่า “ก่อนปีพ.ศ.2500 แคคตัสได้ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศโดยผู้รักต้นไม้สกุล ‘สมบัติศิริ’ โดยนำมาเผยแพร่ในกลุ่มเพื่อนฝูงด้วยความประทับในความประงดงามประหลาดตา จึงเริ่มมีการสั่งเข้ามาปลูกเพื่อสะสมกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคุณสมพงษ์ เล็กอารีย์ คุณอารีย์ นาควัชระ และคุณบุษบง มุ่งการดี”
ความนิยมแคคตัสเริ่มแพร่ขยายเป็นวงกว้างทีละเล็กทีละน้อย จนเกิดร้าน ‘471’ ของคุณวาส สังข์สุวรรณ ขึ้นที่สนามหลวง ซึ่งถือว่าเป็นร้านขายแคคตัสโดยตรงเป็นร้านแรกของประเทศ จากนั้นก็มีร้าน ‘ลุงจรณ์’ ตั้งอยู่ริมคลองหลอดเกิดขึ้นตามมาเกิดกลุ่มนักเล่นและนักสะสมแลกเปลี่ยนพันธุ์ไม้ซึ่งกันและกัน โดยมีคุณขจี วสุธาร เป็นนักเล่นคนสำคัญในยุคสมัยนั้น
ประมาณปีพ.ศ. 2519 มีการสั่งไม้ต่อยอดสีแดง ยิมโนด่าง และต้นจากการเพาะเมล็ดชนิดอื่นๆ เข้ามาจากญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้นักเล่นตื่นตัวและให้ความสนใจเรื่องการต่อยอดแคคตัสมากขึ้น เริ่มมีการเพาะเมล็ดขยายพันธุ์เองภายในประเทศ เกิดการพัฒนาและผลิตต้นออกสู่ตลาดได้เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มนักเล่น ในขณะที่ร้านขายแคคตัสใหญ่ๆ ที่น่าสนใจก็เกิดขึ้นตามมาอีกหลายร้าน เช่น ร้านพิศพร้อม ร้านยุทธนาแคคตัส ร้านลินจง เป็นต้น
แคคตัสยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมา มีการสร้าง Geodesic Dome จัดเป็นสวนแคคตัสขึ้นภายในสวนหลวง ร.9 มีตำราแคคตัสภาษาไทยเล่มแรกโดยสำนักพิมพ์บ้านและสวน มีกลุ่มผู้เลี้ยงและผู้จำหน่ายขยายวงกว้างครอบคลุมไปกว่า 50 จังหวัดของประเทศ รวมทั้งมีการพัฒนายกระดับคุณภาพ เกิดพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆขึ้นเสมอ จนกล่าวได้ว่าแคคตัสเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมมาจนทุกวันนี้

ประวัตความเป็นมาของแคคตัส



ประวัติความเป็นมาของแคคตัส
มีการสันนิษฐานกันว่าต้นตระกูลของแคคตัสนั้นเกิดขึ้นในช่วงปลายของยุค Mesozoic และช่วงต้นของยุค Tertiary ซึ่งเป็นยุคสมัยที่พืชมีดอกได้รับการพัฒนามากที่สุด เชื่อกันว่าในยุคสมัยนั้นแคคตัสมีลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาผลิใบออกดอกติดผลเหมือนต้นไม้ทั่วไป โดยจะเห็นได้จากแคคตัสในสกุล Pereskia ซึ่งชนิดที่ปลูกประดับมากในไทยได้แก่กุหลาบเมาะลำเลิงและกุหลาบพุกามที่ยังคงมีลักษณะดังกล่าวอยู่
ในช่วงระยะเวลานานหลายล้านปีที่สภาพแวดล้อมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดมหาสมุทรและทิวเขาขึ้นมาบนพื้นโลก โดยส่วนใหญ่จะอยู่ทางแถบทิศตะวันตกของทวีปต่างๆ ซึ่งลมฝนไม่สามารถพัดผ่านมาทางด้านตะวันออกของทิวเขาได้ ทำให้พื้นที่เริ่มแห้งแล้งและกลายเป็นทะเลทราย พืชพันธุ์ต่างๆที่เจริญเติบโตอยู่ในแถบนั้นจึงเริ่มปรับสภาพของตัวเองเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งทุรกันดารนั้นต่อไปได้
แคคตัสได้พัฒนาโครงสร้างของตัวเองให้สามารถเก็บสะสมน้ำไว้ภายในลำต้นมากถึง 80–90 % ทำให้ลำต้นอวบอ้วนและสั้นลง รากส่วนมากจะอยู่ใกล้ผิวดิน ไม่หยั่งลึกลงไปมากนักเพื่อดูดจับน้ำและความชื้นในอากาศได้ง่ายและที่สำคัญ คือลดขนาดใบไม้ให้เล็กลงและเปลี่ยนรูปไปเป็นหนามจำนวนมาก ช่วยพรางความร้อนของแสงอาทิตย์เพื่อลดการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำของต้น
แคคตัสส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ พบมากในพื้นที่แถบทะเลทรายแต่ก็มีบางประเภทที่เติบโตอยู่ในป่าเขตร้อนชื้น ซึ่งแคคตัสกลุ่มนี้มักจะมีลำต้นแบนๆแตกต่างจากพวกที่อยู่ในทะเลทรายที่มักจะมีลำต้นกลมๆ ทั้งนี้เพื่อให้มีพื้นที่ในการรับแสงมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีสามารถพบแคคตัสเจริญเติบโตอยู่ตามบริเวณทุ่งหญ้า เกาะอาศัยอยู่กับต้นไม้ใหญ่ในป่าชื้น บนภูเขา หรือแม้กระทั่งริมทะเล

แคคตัส(กระบองเพชร)


แคคตัส(cactus) หรือกระบองเพชร ?
แคคตัส คือ พืชที่จัดอยู่ในประเภทพืชลำต้นอวบน้ำ (Stem succulent )แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพืชอวบน้ำทั้งหมดจะเป็น "แคคตัส" เสมอไป พืชที่จะจัดอยู่ในตระกูลของแคคตัส จะต้องประกอบด้วย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 4 ประการ คือ เป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ออกลูกเป็นผลเซลล์เดียว และ มีตุ่มหนาม ซึ่งตุ่มหนามนี้จะพบได้ในพืชตระกูล แคคตาซี (cactaceae) หรือ ตระกูลแคคตัสเท่านั้น ลักษณะพิเศษที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ แคคตัสแทบทุกชนิดจะไม่มีใบหรือลดรูปใบกลายเป็นหนามหรือขน และแม้ว่าพืชวงศ์อื่นจะจะมีการลดรูปใบและมีหนามเช่นกัน อย่างเช่นพวกยูโฟเบีย (Euphorbia)แต่ก็จะยังมีใบเล็กๆให้เห็นเป็นส่วนใหญ่เพียงแต่อาจหลุดร่วงเร็วไม่ได้หายไปเลยเหมือนแคคตัส
แคคตัส (Cacti) เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึง พันธุ์ไม้ที่มีหนาม โดย Linnaeus (Carl von Linne’) แพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน เป็นผู้นำมาใช้เรียกไม้อวบน้ำที่มีรูปร่างแปลกๆ ไม่มีใบ มีแต่หนาม (ใบที่เปลี่ยนรูปกลายเป็นหนาม) มีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศแห้งแล้ง ทุรกันดาร จึงต้องปรับตัวให้สามารถเก็บออมถนอมน้ำไว้ในลำต้น ไว้ใช้ยามที่ภูมิประเทศรอบๆ ตัวขาดน้ำเป็นเวลานานได้ สังเกตได้ว่า แคคตัสมีลักษณะผิดไปจากไม้ยืนต้นพันธุ์อื่นๆ ที่มีใบและที่ใบมีปากใบ สำหรับถ่ายเทอากาศและคายน้ำออก ทำให้น้ำระเหยออกจากต้นได้เร็ว เนื่องจากแคคตัสไม่มีใบ มีแต่หนาม น้ำจึงระเหยออกไปได้ยาก แคคตัสจึงเก็บถนอมน้ำไว้ได้นานกว่าพันธุ์ไม้อื่นและเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง